ติกนิบาต ธรรมะสามประการที่เปรียบเทียบกัน ในตอนนี้ชื่อว่า รถาการวรรค ต่อจากตอนที่แล้วเริ่มตั้งแต่ข้อที่ 14 จนจบวรรค พระสูตรที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้มี อสังสสูตร เปรียบเทียบบุคคล 3 จำพวกที่หมดหวัง ยังมีหวัง ปราศจากความหวังกับการเป็นพระอรหันต์

จักกวัตติสูตร ที่เทียบให้เห็นการรักษาของพระราชากับการรักษาของพระพุทธเจ้าที่ยังธรรมะให้เป็นไปโดยการคุ้มครองโดยธรรมในทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

ปเจตนสูตร เปรียบเทียบให้เห็นว่าเมื่อก่อนฉลาดในความคดปุ่มปมแก่นกระพี้ของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้ฉลาดในความคดของกายวาจาใจ โทษของกายวาจาใจ มลทินของกายวาจาใจ

อปัณณกสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ที่เมื่อปฏิบัติแล้วจะไม่มีทางเสื่อมมีแต่ดีท่าเดียว ทำได้แม้นิดหน่อยก็ดีเลย เพราะมันไม่ผิด ทำธรรม3อย่างนี้เพื่อปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

อัตตพยาพาธสูตร ธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งสองอย่าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ในทางไม่เบียดเบียนก็ตรงข้ามกัน

เทวโลกสูตร ให้ระอารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ปฐมปาปณิกสูตร คุณสมบัติ 3 อย่างของพ่อค้าที่ทำแล้วจะได้กำไรจัดแจงการงานใน 3 เวลา กับภิกษุที่ทำสมาธิ 3 เวลา

ทุติยปาปณิกสูตร คุณสมบัติของพ่อค้าที่มีตาดีในภิกษุคือเห็นตามจริงในอริยสัจสี่ มีธุรกิจดีในภิกษุ คือ มีความเพียรดี มีความเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัยในภิกษุ คือ กัลยาณมิตร