ความสุขที่ไม่ควรกลัว คือ จากฌานสมาธิ เพื่อให้ถึงบรมสุข คือ นิพพาน

จากคำถามใน ปปติตสูตร #ข้อ 2 ได้อธิบายเพิ่มเติม “บรรลุสุขด้วยสุข” โดย “บรรลุสุข” หมายถึง นิพพาน “ด้วยสุข” หมายถึง ฌานทั้ง 4 ขั้น

#ข้อ 116-#ข้อ 120 เปรียบเทียบธรรมในส่วนไม่ดีเหมือนอยู่ในนรก และส่วนดีเหมือนตำรงอยู่บนสวรรค์ มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ คือ การพิจารณาและไม่พิจารณาไตร่ตรอง คนที่ควรสรรเสริญ คนที่ควรติเตียน ทำศรัทธาไทยให้ตกไป และในความต่างอีก 2 ประการ ของ

วัณณนาสูตร #ข้อ 116 คือ แสดงความเลื่อมใส และไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ควรและไม่ควรเลื่อมใส 

อิสสุกินีสูตร #ข้อ 117 คือ มีและไม่มีความริษยา กับความตระหนี่

มิจฉาทิฏฐิกสูตร #ข้อ 118 เรื่องปัญญา คือ ทิฐิ และสังกัปปะ

มิจฉาวาจาสูตร #ข้อ 119 เรื่องศีล คือ วาจา และกัมมันตะ

มิจฉาวายามสูตร #ข้อ 120 เรื่องสมาธิ คือ วิริยะ และสติ

คิลานสูตร #ข้อ 121 ภิกษุป่วยไข้ รักษาจิตของตนเองด้วยธรรม 5 ประการนี้ คิอ พิจารณาความไม่งามในกาย ปฏิกูลในอาหาร ความไม่เที่ยงในสังขาร มรณสัญญา ไม่เพลินในโลกทั้งปวง จะหวังอรหัตผลได้

สติสุปัฏฐิตสูตร #ข้อ 122 ไส้ในเหมือนกันกับ #ข้อ 121 ต่างกันแค่ประการแรก คือ ตั้งสติไว้ในภายใน จะเป็นอนาคามี หรือหวังอรหัตผลได้

ปฐมอุปัฏฐากสูตร #ข้อ 123 ผู้ป่วยไข้ที่พยาบาลได้ยากและง่าย คือ ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ (สบายเหมาะสมกับโรคนั้นๆ) รู้ประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ ฉันยา บอกอาการตามความเป็นจริง และอดกลั้นต่อเวทนาได้

ทุติยอุปัฏฐากสูตร #ข้อ 124 คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดูแลผู้ป่วยไข้ คือ รู้ที่จะจัดยา รู้สิ่งที่เป็นสัปปายะ ไม่รังเกียจอุจจาระ ปัสสาวะ และชักชวนให้คนไข้มีกำลังใจขึ้นมาได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อันธกวินทวรรค คิลานวรรค