00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวกอย่างไรจึงจะเรียกว่า “เห็นธรรมในธรรม” ถ้าเราเห็นว่านิวรณ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 มีเหตุเกิดเหตุดับ ละได้ นี้ก็ชื่อว่าเห็นธรรมในธรรม อุปาทานในขันธ์ 5 ไล่เรียงการเกิดการดับตามหลักปฏิจจสมุปบาท หรืออย่างเช่นในอายตนะ ถ้าเราเห็นช่องทางที่มา เห็นจุดเชื่อม แยกแยะได้ นี้ก็คือการเห็นธรรมในธรรม แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในอายตนะทั้ง 6 ไม่เข้าใจเหตุเกิด ไม่เข้าใจถึงความดับ นั่นก็เป็นเครื่องร้อยรัดคือ อวิชชา คือสังโยชน์ 10 ที่อาศัยช่องทางเหล่านี้เกิดขึ้นได้ แค่รู้จักแยกแยะ เราจะเห็นเครื่องร้อยรัดที่มันรัดอยู่ เหมือนที่เรารู้จักแยกวัวสีขาวออกจากวัวสีดำ และจากแอก แยกแยะคือสติ ใคร่ครวญคือปัญญา หรือในโพชฌงค์ 7 ไล่จากการเกิดขึ้นไปตามลำดับทั้ง 7 ขั้นตอน รู้ชัดเหตุเกิดนั้นแล้ว พัฒนาให้เจริญ แต่ไม่ยึดถือแม้ในสติ แม้ในสมาธิ แม้ในปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น หรือในอริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง) ก็ให้เห็นรู้ชัด แยกแยะ และกระทำ ซึ่งกิจที่ต่างกันในแต่ละข้อ “ สติเห็นธรรมในธรรมความยึดถือมันจะจางคลายไป ถ้าจิตใจของเรามีสติตั้งไว้แบบนี้ เรียกว่าเป็นผู้ที่เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”[...]