Q: เมื่อขัดเคืองแล้วมีสติรู้ตามหลังนับว่าช้า? ไม่อยากขุ่นใจนับเป็นวิภวตัณหา? และสามารถฝึกจนไม่ขุ่นใจเลยได้หรือไม่
A: การที่มีสติรู้แต่ยังละไม่ได้ เพราะสัมมายาวามะยังไม่เต็ม ก็ฝึกทำจริงแน่วแน่จริง ทำไปเรื่อย ๆ จิตจะมีความเคยชิน อาจจะไม่ได้มีสติตลอดเวลา แต่จะพัฒนาขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือ อย่าไปติดกับดักความอยากหรือความไม่อยาก แค่ทำให้ถูกมรรคเท่านั้นพอ พอเราไม่ตั้งอยู่ที่ความอยากหรือไม่อยาก เวลามีผัสสะมากระทบ มันก็จะแค่สักว่ารู้เฉย ๆ ความขุ่นใจจะไม่เกิดขึ้น นับเป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ 
อินทรีย์นั้นจะมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สติก็มีวิมุตเป็นที่แล่นไปสู่ การที่บางครั้งทำได้ นั่นคือ วิมุตแล้ว แต่ที่ยังกลับกำเริบ ก็เพราะยังไม่เห็นความไม่เที่ยงของสติและของจิต ยังไม่เห็นความเป็นตัวตนของจิต ยังยึดสติและจิต ต้องมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยง จึงจะกำจัดอวิชชาได้ ฝึกจิตให้เห็นความไม่เที่ยงได้ก็ด้วยมรรค 8  ฝึกตามเส้นทางนี้ไปเรื่อย ๆ จะละความขุ่นเคืองได้ วิมุตนั้นก็จะนำไปนิพพาน 

Q: ฝึกจิตรับสถานการณ์ร้าย ๆ ได้อย่างไร
A: ให้มีสติ ให้เห็นว่า ภาวะแก่เจ็บตายมันมีของมันอยู่แล้ว การยอมรับจะทำให้ไม่กลัว ทำความเข้าใจตามความเป็นจริงของมัน คือ เข้าใจเหตุเกิด ตัวมัน เข้าใจเหตุดับ รสอร่อย และโทษของมัน แล้วหาอุบายการนำออกด้วยมรรค 8 เราจะยังคงผาสุกอยู่กับสถานการณ์นั้นได้ก็ด้วยมรรค 8 

Q: ความสัมพันธ์ของคำว่าเวร-กรรม
A: เป็นสิ่งที่ผูกพันกันมา สิ้นได้ดับได้ด้วยอริยมรรค