พหุการสูตร ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก ที่เมื่อมีแล้วสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนกระทั่งพาไปนิพพาน คือ การคบสัตบุรุษ:การคบเพื่อนดี คือ การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี การฟังธรรมเป็นการรับ in put ดี ๆ เป็นการเพิ่มปัญญา การโยนิโสมนสิการ คือ การคิดใคร่ครวญปรับปรุง และธัมมานุธัมมปฏิปัตติเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พัฒนาจากสุตมยปัญญาเป็นจินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา 4 ข้อนี้ สามารถพัฒนาวน loop จะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้แน่นอน ในปฐม/ทุติย/ตติย/จตุตถโวหาร: ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า เราโกหกหรือไม่ ที่น่าสนใจคือ อย่างไรคือโกหกสีขาว หรือการข้ามเส้นแบ่งนี้ไป จบอาปัตติภยวรรค

เริ่มอภิญญาวรรคหมวดว่าด้วยความรู้ยิ่ง: อภิญญาสูตร ความรู้ 4 อย่างที่เทียบมาตามอริยสัจ 4 มีข้อเหมือน และการเรียงลำดับที่ต่างออกไปพบแต่ในพระสูตรนี้เท่านั้น คือ 1. ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ ทุกข์คือ ขันธ์ 5 มีความเป็นอนัตตา 2. ธรรมที่ควรละ คือ สมุทัย ในที่นี้ คือ อวิชชา และภวตัณหา ตัณหามีลักษณะดังนี้ มีการเกิดปรากฏ มีความเพลินปรากฏ และเกี่ยวกับกาม 3. ธรรมที่ควรทำให้เจริญ คือ มรรค ในที่นี้ คือ สมถะ และวิปัสสนา สมถะ คือ จิตเป็นอารมณ์เดียว วิปัสสนา คือ การเห็นตามจริง รวมกันเรียกว่าสมาธิ 4. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ นิโรธ ในที่นี้ คือ วิชชาและวิมุตติ วิชชา คือ ความรู้คือญาณ วิมุตติคือความพ้น เป็นผลจากการทำความเข้าใจ มีแล้วจะวางได้ หรือจะมองในแง่ของมรรค 8 บวกสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติซึ่งก็คือสัมมากัมมันตะนั่นเอง ทั้งสี่อย่างนี้พัฒนาไปด้วยกัน ทำความเข้าใจเรื่องทุกข์แล้วข้ออื่น ๆ ก็ตามมา

(จตุกกนิบาต: อาปัตติภยวรรค ข้อที่ 249 – 253 และอภิญญาวรรค ข้อที่ 254)