Q: ผลของบุญบาปมีจริงหรือไม่A: ยกกรณีของพระพุทธเจ้า ทำความดีมามากจนได้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนกรรมไม่ดีก็มี ซึ่งความไม่ดีทำให้รับผลไปนรก ส่วนเศษกรรมก็มาส่งผลในชาติสุดท้าย ให้เห็นว่าทุกข์ในนรกนั้นมากกว่าทุกข์ในโลกมนุษย์ ให้ยอมรับมันแล้วรีบทำกรรมดี ดีกว่าจะคุ้มกว่ากันมาก บุญหรือบาปสามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวกับสุขหรือทุกข์ กรรมเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ

Q: ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไรA: ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นจะปล่อยวางได้ ความยึดมั่นถือมั่นมีตั้งแต่เป็นตัวเราของเรา ยังมีความเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ความที่เราเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละจึงเป็นความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนเป็นอัตตาขึ้นมา เพราะฉะนั้นความไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ ความเข้าใจที่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นอนัตตา นี้เป็นปัญญาจะตัดความยึดมั่นถือมั่นได้ อยู่แบบไม่ทุกข์

Q: ถ้าศึกษาจากพระไตรปิฏกเองจะก่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นหรือไม่Q: เป็นไปได้ เหมือนการจับงูที่ไม่ถูกจะแว้งกัดได้ การศึกษาจะเป็นงูพิษถ้ามีความยึดถือในธรรมนั้น เพราะความเมาในความเป็นพหูสูตร ต้องระวัง

Q: ความประมาทเป็นชื่อของอะไรA: ความประมาทเป็นชื่อของความตาย ดั่งการตายที่มีที่ไปแตกต่างกันระหว่างนางมาคัณฑิยา และนางสามาวดี คนทึ่ไม่ประมาทต่อให้ตายไป ก็ชื่อว่าไม่ตาย แต่คนที่ประมาทต่อให้มีชีวิตอยู่ ก็ชื่อว่าตายแล้ว

Q: รับประทานอาหารก่อนใส่บาตรได้หรือไม่A: ได้ จัดเป็นสัดส่วนแยกออกมาให้ชัดเจน

Q: เปรตเป็นอย่างไรA: เปรตเป็นลักษณะของความตระหนี่ ทุกข์ มีความแห้งผาก