ตั้งสติไว้กับลมหายใจเพื่อรักษาจิตไม่ให้ไปตามช่องทางทั้ง 6 เหมือนผูกสัตว์ไว้กับเสา ทำไปเรื่อยๆสัตว์เหล่านั้นจะอ่อนกำลังลง จิตก็เช่นกัน 

การรักษาจิตต้องไม่บังคับแต่ให้ควบคุมให้ดี เมื่อสติอยู่กับลมจะรับรู้อยู่แต่ไม่ตามไป แยกแยะแบบบุคคลที่ 3 ตั้งสติเอาไว้สะสมไปเรื่อย ๆ คอยสังเกตจดจ่อทำอย่างสมดุลจะเกิดเป็นสมาธิ ดั่งอุปมาเช่นการกกไข่ของแม่ไก่ 

“สร้างเงื่อนไขอย่างถูกต้อง มีปัจจัยทำมาอย่างดี มีการปรุงแต่งที่เหมาะสม ตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว จะสามารถที่จะให้เจ้าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาอยู่ในอำนาจได้”

สติทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เป็นกระบวนการที่จะค่อย ๆ  เพิ่มขึ้นจะได้ผลเหมือนกับการบดงาจะหวังหรือไม่หวังย่อมได้นำ้มัน

เมื่อสติมีกำลัง จิตระงับลง สมาธิเกิดจะเห็นเวทนาที่ละเอียดขึ้น สติก็ต้องละเอียดตามลงไป ไม่เผลอเพลินในสุขเวทนานั้น  สติจะทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ก็ตรงจุดที่เราสังเกตเห็นความจริงนี้ สติกับปัญญาต้องผสมกัน

สติจะทำให้เกิดปัญญาเห็นว่า ทุกสิ่งล้วนมีปัจจัยปรุงแต่งกันมาเปลี่ยนแปลงได้  ทำไปเรื่อย ๆ เห็นอยู่เรื่อย ๆ เหมือนชาวนาไขน้ำเข้านา วันนึงเมื่อเวลาที่เหมาะสมจะปล่อยวางได้เหมือนการค่อย ๆ ผุกร่อนของเครื่องหวาย

ให้จิตตั้งไว้กับสติ ตั้งไว้กับมรรคจะเห็นผลในที่สุด