00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกอปัณณกสูตร ผลของการทำวิบัติหรือสัมปทา 3 อย่าง ในศีล ในจิต และในทิฏฐิ ที่เมื่อทำแล้วย่อมให้ผลแน่นอนเหมือนการกลับมาตั้งในเหลี่ยมของอัญมณีที่ถูกโยน ในกัมมันตสูตรเหมือนกับในอปัณณกสูตร มีต่างตรงอาชีววิบัติ ซึ่งถ้าวิเคราะห์ลงไปแล้วก็คือ จิตตวิบัตินั่นเอง ในสัมปทาการถึงพร้อมด้วยการงานเราจะเห็น 4 ขั้นตอน คือ สัมมาทิฏฐิที่มีนับตั้งแต่แยกแยะได้ว่าดีหรือไม่ดีแม้จะยังปฏิบัติตามไม่ได้ทั้งหมด เมื่อแยกแยะได้ก็จะระลึกได้นั่น คือ สัมมสติ ตามมาด้วยสัมมาวายามะความเพียร แล้วผลเป็นอาชีวสัมปทา ในอาชีวไม่ได้หมายถึงอาชีพ แต่หมายถึงการดำรงชีวิตที่ทำแล้วกิเลสไม่เพิ่ม ในปฐมและทุติยโสเจจยสูตร ว่าด้วยความสะอาดทางกายวาจาใจ ที่แบ่งตามกุศลธรรมบท 10 สองพระสูตรนี้จะต่างกันตรงที่ใจ ในทุติยสูตร คือ การมีสติสัมปชัญญะเห็นไตรลักษณ์ของนิวรณ์ 5 ที่อยู่ในใจ รู้ว่ามี รู้ว่าไม่มี รู้ถึงการเกิดขึ้น รู้ถึงการละ รู้ถึงการไม่เกิดซ้ำที่ละได้แล้ว นั่นคือ ความสะอาดทางใจปราศจากนิวรณ์ 5 และในโมเนยยสูตร ว่าด้วยความเป็นมุนี มุนี คือ ความเป็นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาในทางกาย คือพรหมจรรย์ วาจาตามกุศลธรรมบท 10 และการทำให้แจ้งทางใจ จบอาปายิกวรรค