“คำว่าตัณหาวิจริต คือ ทางไปแห่งจิต จิตที่มีตัณหาไปได้แบบนี้”

อัตตันตปสูตร เอาความเดือดร้อนต่อตนเอง และผู้อื่นมาเป็นเกณฑ์ คือ ทำตนเองให้เดือดร้อน คือ การทำความเพียรที่ไม่ก่อประโยชน์เป็นทุกรกิริยา ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ ผู้ที่ทำชีวตอื่นให้ล่วงไป ทำตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน คือ การบูชายัญทำลายชีวิตอื่น ผู้ที่ทำให้ก็ลำบาก ตนเองก็มีมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำทั้งตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน คือ การประพฤติพรหมจรรย์ตลอดสาย เดินมาตามมรรค 8 เราทุกคนเคยทำตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนให้ค่อย ๆ ปรับไป เดินตามทางสายกลาง จะประกอบตนถึงนิพพานได้

ตัณหาสูตร จิตใจของสัตว์โลกพันกันยุ่งเหยิงด้วยตัณหาวิจริต จิตจะเป็นไปตามอำนาจของตัณหา 18 อย่างนี้ ตามขันธ์ 5 ภายนอก ภายใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน นับรวมได้ 108 แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 1. มีตัณหาเข้าใจว่าเราเป็น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นโดยประการอื่น 2. เข้าใจว่าเราเป็นผู้เที่ยง เราเป็นผู้ไม่เที่ยง 3. เราพึงเป็น พึงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เป็นโดยประการอื่น 4. เราพึงเป็นบ้าง พึงเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นโดยประการอื่นบ้าง 5. เราจักเป็น จักเป็นอย่างนี้ จักเป็นอย่างนั้น จักเป็นโดยประการอื่น ตัดใยตัณหาได้ด้วยการเดินมาตามมรรค 8 คลี่ออกมาเป็นคู่ตามปฏิจจสมุปบาท

เปมสูตร เราจะรักหรือชังใคร เราอาศัยได้ทั้งความรัก และความชังให้เกิดความรักความชังขึ้นมา จะไม่มีทั้ง 4 อย่างนี้ได้ ก็คือ เข้าฌาณ 1-4 ละอาสวะ ทำจิตให้หลุดพ้น ก็จะละได้ เมื่อทำได้แล้วจะมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้ เมื่อมีปัญหาไม่ถูกกันควรแก้แบบกินติสูตร จบมหาวรรค

เริ่มสัปปุริสวรรค: สิกขาปทาสูตร แบ่งบุคคลเป็นสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ คนที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ และยิ่งกว่าอสัตบุรุษ คือ คนที่ชักชวนให้ทำความดีหรือความชั่ว ในสิกขาปทสูตรแบ่งตามศีล 5 ในอัสสทสูตรแบ่งตามเสขพละ 7 ในสัตตกัมมสูตรแบ่งตามศีล 7 และในทสกัมมสูตรแบ่งตามกุศล หรืออกุศลกรรมบท 10