ตัณหาตัวปัญหา
ทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ห้า
ความแตกต่างระหว่างทุกขอริยสัจและทุกขสมุทัยอริยสัจที่ว่า ทุกข์หรือขันธ์ห้าควรทำความเข้าใจ ตัณหาควรละ
คิดถึงทุกข์ไม่ใช่ตามอารมณ์ของความทุกข์ แยกแยะตริตรึกออกให้ดีให้ถูกต้อง เพราะ “บุคคลตริตรึกถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้นๆ”  คือถ้าตริตรึกไปทางไหนมากจะทำให้สิ่งนั้นมีกำลัง
ตามพระสูตรเทวธาวิตักกสูตร คือให้แบ่งความตริตรึกให้ถูก เมื่อตริตรึกถูก จะแยกส่วนที่เป็นทุกข์คือขันธ์ห้ากับตัณหาที่เป็นส่วนของเหตุให้เกิดทุกข์ออกจากกันได้ เมื่อเห็นทุกข์ ให้เห็นถึงเหตุเกิดทุกข์นั้นโดยความเป็นอนัตตา เห็นด้วยปัญญา มรรคเกิดตรงนั้นทันที มรรคอยู่ตรงไหนคือความพ้น ทุกข์หลุดออกจากกันได้ก็เกิดขึ้นที่ตรงนั้น จึงให้ตริตรึกไปตามทางมรรค

เราจะมาคิดถึงทุกข์ ไม่ใช่ว่าเราไปตามอารมณ์ของความทุกข์นั้น ถ้าเราไปตามอารมณ์ของความทุกข์นั้น คุณยิ่งทุกข์มากแน่นอน ที่พระพุทธเจ้าท่านให้คิดนึกถึงความทุกข์คือ ให้ทำหน้าที่ในทุกข์ให้ถูกต้อง ไม่ใช่ตามทุกข์ ไม่ใช่ตามตัณหา แต่ให้เข้าใจความทุกข์นี้ว่า ทุกข์นี้มีเหตุมีปัจจัยมา