“รักษาตนคือรักษาผู้อื่น รักษาผู้อื่นก็คือการรักษาตนเอง” เราสามารถตอบโต้คนไม่ดีด้วยความอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู ซึ่งได้ชื่อว่ารักษาทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้จะต้องปรับกลยุทธการรับมือตามสถานการณ์ด้วย รู้จักรักษาตัวรอด ต้องทรงจิตของเราที่จะรับมือกับผัสสะต่างๆให้ได้โดยการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ใคร่ครวญธรรมอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติธรรมอย่างสมควร

ความจริงใจที่สุดคือ อริยสัจสี่และข้อปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด รวมถึงเงื่อนไขของความเป็นคำจริงหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ และเมื่อฟังแล้วเขาจะมีความพอใจหรือขัดเคือง

ความดีสามารถวัดได้จากการกระทำเมื่อทำแล้วทำให้มีกุศลธรรมเพิ่มขึ้น และอกุศลธรรมลดต่ำลง เราต้องไม่กระทำตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุคคลสุดท้าย หรือ “The Last Man” กล่าวคือ “อย่าให้ความดีมาสุดจบที่เรา”

Q1: วิธีการรับมือกับความเห็นแก่ตัว ทั้งจากตนเองและผู้อื่น

ต้องมีความอดทน อย่าให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา การตอบโต้กลับไปเพราะมีความเป็นอัตตาตัวตน ถือว่าเห็นแก่ตัวเช่นกัน ไม่ถูกต้องตามธรรม

Q2: เราควรปฏิบัติตนหรือวางใจอย่างไร เมื่อ “พวกมาก ลากไป” ล้วนทำความผิด ในขณะที่เราทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับโดนคนทำผิดใส่ร้ายและประนามต่อหน้าผู้อื่น

ในบางสถานการณ์ความจริงใจก็ใช้กับคนบางคนไม่ได้ ควรมีเงื่อนไขเช่นไรในการเลือกใช้ความจริงใจทางธรรม เพื่อประยุกต์ปรับใช้ใช้กับเหตุการณ์ทางโลก

สัจจะความจริง สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์และทุกบุคคล แต่ที่บางคนไม่สามารถยอมรับได้เพราะถูกกิเลสครอบงำ เงื่อนไขเดียวที่สามารถใช้ได้คือ “ต้องรู้กาละที่เหมาะสมในการที่จะกล่าววาจานั้น” หรือหมายความว่า ต้องบอกความจริงในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเราต้องมีปัญญาแยบคาย มีความรอบคอบ

Q3: แค่ไหนถึงจะเรียกว่าดี ด้วยเหตุของความดีแต่ละคนไม่เท่ากัน

ตัววัดความดี คือ ความเป็นไปตามหลักมรรคแปด ตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา หากทำสิ่งใดแล้วกิเลสลดลงถือว่าดี ในทางตรงกันข้ามหากทำสิ่งใดแล้วกิเลสเพิ่มขึ้นถือว่าไม่ดี

Q4: หากเราต้องอธิบายเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว และผลของกรรม ให้กับลูกหลาน หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยชอบฟังธรรมะ เราควรจะอธิบายอย่างไรให้เห็นภาพชัดเจน

พระพุทธเจ้าจะทรงตัสเรื่อง ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ในการหลีกจากกาม เพื่อเป็นการปู้ทางให้ไปสู่ความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจสี่

Q5: ทำอย่างไรที่จะให้คนรอบข้างของเรามีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อเรื่องกรรมดี กรรมชั่วบาปบุญคุณโทษ เพราะพระอาจารย์มหาไพบูลย์ฯ เคยอธิบายว่าเป็นเรื่องของอจินไตย

ให้มีศรัทธา ต้องเห็นทุกข์

Q6: วิธีพิสูจน์ผลกรรมดีและผลกรรมชั่วแบบง่ายที่สุด

พิสูจน์เรื่องกรรมด้วยศรัทธาของตนเอง อย่างลงมั่นไม่หวั่นไหว

Q7: ต้องการทราบคำอธิบายอย่างละเอียดของคำว่า “อย่าให้ความดีมาสุดจบที่เรา”

สืบทอดความดีของผู้อื่น ด้วยการทำความดีด้วยตัวเราเองทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นการไม่กระทำตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุคคลสุดท้าย หรือ “The Last Man”

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.62,