Q: จิตฺตํ ภาวิตํ มหโต สลฺวัตฺตติ มีที่มาอย่างไร
A: ไม่ใช่พุทธพจน์ แปลว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมมีประโยชน์ใหญ่ ที่เป็นพุทธพจน์ คือ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ ความหมายคล้ายกัน อาจใช้คำต่างกันบ้าง ด้วยเป็นลักษณะของคำกลอน จิตที่อบรมดีแล้วจะละราคะได้ทำนิพพานให้แจ้งได้ จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ 
จิตนั้นสามารถเข้าไปยึดถือโดยความเป็นตัวตนได้หมด ในช่องทางใจ ในธรรมารมณ์ และในวิญญาณ จะฝึกจิตได้ต้องรู้จักแยกแยะความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ ด้วยความเป็นประภัสสรละเอียดอ่อนของจิต จิตจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่มันซึมซาบไป คล้อยไปตามผัสสะ ทำให้มีอาสวะสะสม ถ้าเราไม่ฝึกไม่บังคับ จิตก็จะไปตามตัณหาไปตามผัสสะไปตามขันธ์ 5 คือ อยู่ฝั่งที่เป็นทุกข์กับสมุทัย แต่ถ้าฝึกจิตด้วยมรรค จิตจะได้รับการรักษา จึงเป็นประโยชน์ใหญ่
เมื่อเข้าสมาธิได้ควรเห็นจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในจิตนั้น จิตนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเห็นอย่างนี้ คือ การเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีปัจจัย คือ นิพพาน นิพพานมี 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่เหนือสมมติ กับฝั่งที่ยังมีสมมติอยู่ นี้จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ จิตฝึกยากแต่คุ้มต้องพยายาม 

Q: อยากทราบวิธีฝึกจิตเพื่อรับมือกับสถานการณ์
A: ถ้ายังไม่สามารถเห็นจิต ก็ให้เห็นความปรุงแต่งของจิต จะฝึกจิตได้ต้องรู้จักแยกแยะ เป็นยามที่ฉลาด จุดที่จะทำให้แยกแยะได้ คือ สติ มีสติแล้วก็ทำสมาธิให้เกิดมี ด้วยจิตที่เป็นอารมณ์อันเดียว จะรักษาจิตได้ ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 จะระงับอยู่ภายใน จะมีปัญญาแก้ไขปัญหาต่อไป

Q: คนที่โกงกินต้องไปนรกแน่นอนหรือไม่
A: ไม่แน่ ถ้าปัจจัยเงื่อนไขในการทำอาสวะนั้นเปลี่ยนไป เช่น ท่านองคุลีมาล หรือพระเจ้าอาชาตศัตรู ทำความดีเอาน้ำ คือ บุญ ล้างความเค็ม คือ ความบาป เมื่อเจอให้น้อมว่าไม่ทำตามเขา ไม่พยาบาทวางอุเบกขา เป็นกัลยาณมิตร