Q: “ตมฺมโย” หมายถึงอะไร ?A: “ตมฺมโย” แปลว่า ยังเกี่ยวเนื่องด้วยอยู่ / เกาะอยู่ / ไม่เป็นอิสระจากสิ่งนั้น“อตมฺมโย” แปลว่า ภาวะที่ไม่ได้เนื่องด้วยสิ่งนั้น / ไม่ได้เกาะเกี่ยวสิ่งนั้น (ณ ที่นี้ หมายถึงนิพพาน)เปรียบดังอุปมาอุปไมย ดอกบัวอาศัยโคลนตมเกิดแต่พอโผล่พ้นน้ำแล้วไม่ได้โดนโคลนตมนั้นอีก คือแยกจากกัน ผ่องแผ้วจากกัน / เราปฏิบัติไปตามทางมรรคจนถึงนิพพานแล้วแต่เราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้นไม่เกี่ยวเนื่องนิพพานนั้น เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้ว

Q: เมื่อหมดศรัทธากับครูบาอาจารย์ควรทำอย่างไร?A: นี่เป็นโทษของศรัทธา (อ้างอิง โทษของศรัทธา “ปุคคลปสาทสูตร”) หากบุคคลที่เราศรัทธา มีเหตุเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วเราไม่ศรัทธาในภิกษุเหล่าอื่น ไม่เลื่อมใส ไม่คบหา ในภิกษุเหล่าอื่น ก็จะไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรมก็จะเสื่อมจากสัทธรรม / เราควรตั้งศรัทธาไว้ในภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะตั้งอยู่ในสัทธรรมนั้นได้

Q: ศรัทธามาจากไหน / จะรักษาศรัทธาไว้ได้อย่างไร?A: ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา / ถ้าคนที่มีทุกข์แล้วเห็นไม่ถูก ศรัทธาไม่เกิดทุกข์ มี 2 อย่าง คือ1. ร้องไห้คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง/พร่ำเพ้อ/กระด้างกระเดื่อง/โกรธ/กระฟัดกระเฟียด แสดงความไม่พอใจให้ปรากฏ2. แสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่าใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์สัก 1 หรือ 2 วิธี A : ทุกข์ ในการแสวงหาที่พึ่งภายนอกตรงกับการที่ให้ไปตั้งศรัทธาที่ภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะสามารถตั้งอยู่ในสัทธรรมนั้นได้และจะมีศรัทธาขึ้นมาได้ โดยต้องมีศรัทธาด้วยตนเองอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวแบบโสดาปัตติผล เพราะศรัทธาเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นด้วยตัวของเราเอง และทำให้เจริญเพื่อผลิตผลที่ดีในภายภาคหน้า

Q: เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้วควรสละเพศฆราวาสบวชภายใน 7 วัน มิฉะนั้น จะสิ้นชีวิต ?A: การรักษาศีล 8 จะสามารถรองรับคุณธรรมนี้ได้

Q: เพราะอะไรจึงกล่าวว่าการภาวนาเป็นบุญสูงสุด ?A: “บุญ” เป็นชื่อของความสุข การสร้างบุญด้วยการ “ภาวนา” ได้มากที่สุด เพราะทำแล้วได้เดี๋ยวนั้น การนั่งสมาธิเมื่อนั่งสมาธิความสุขเกิดขึ้นทันที มีผลเป็นปัญญา และจะทำให้ใกล้ต่อประตูสู่นิพพาน แต่ควรสร้าง บุญ ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไปพร้อมกัน