“บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ และเธอตรึกถึงเนกขัมมวิตกบเาง อพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มีกายออกและจิตออก เป็นอย่างนี้แล”

ปุคคลวรรคหมวดว่าด้วยบุคคล ในสังโยชนสูตรมีตัวแปร 3 อย่างที่ละแล้วจะได้บุคคลสี่ประเภท คือ การละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่าง ละปัจจัยแห่งการเกิด และละการได้แห่งภพ สองอย่างหลัง คือ อนาคามี ที่ยังต้องไปเกิดเป็นพรหมกับที่จะปรินิพพานในชาตินั้น ส่วนอันแรก คือ ตั้งแต่สกิทาคามีลงมา ปฏิภานสูตรตัวแปร คือ การตอบถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คู่กับตอบได้รวดเร็วหรือไม่รวดเร็ว อุคฆฏิตัญญูสูตรแบ่งตามความเข้าใจตั้งแต่เฉียบพลัน ต้องขยายความ พอแนะนำได้ด้วยกัลยาณมิตร และทรงจำได้หมดแต่ไม่อาจบรรลุ อุฎฐานผลสูตรเอาผล คือ ความขยันหมั่นเพียรสิ่งที่ทำในปัจจุบันนี้มาคู่กับกรรม คือ สิ่งที่ทำมาในกาลก่อนทำให้บุคคลแตกต่างกัน สาวัชชสูตรเอาโทษเป็นตัวแปรแบ่งตามความมากน้อยของกายวาจาใจที่เป็นทุจริต ปฐมสีลสูตร และทุติยสีลสูตรนำศีล สมาธิ ปัญญา แบ่งตามความบริบูรณ์ และแบ่งตามความเป็นใหญ่ในข้อนั้น ๆ นิกกัฏฐสูตรแบ่งตามการออกหรือไม่ออกของจิตกับกาย ออก คือ กายวิเวกจิตตวิเวก ไม่ออกก็ตรงข้ามกัน ที่น่าสนใจ คือ การที่จะให้เกิดจิตตวิเวกได้การที่มีกายวิเวกนำมาก่อนจะช่วยได้ จึงต้องมีการฝึก เมื่อทำได้แล้วก็สามารถอยู่ได้สบายทุกที่ ธัมมกถิกสูตร คือ การกล่าวธรรมมากน้อยกับผู้ฟังที่ฉลาดหรือไม่ฉลาด วาทีสูตรผู้ที่มีปฏิสัมภิทา 4 จะไม่จนทั้งอรรถและพยัญชนะ