เริ่มปัตตกัมมวรรค ในปัตตกัมมสูตรว่าด้วยกรรมอันสมควร กล่าวถึงธรรม 4 ประการที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา ทั้งหาได้ยากในโลก คือ เงิน ทอง ยศ สุขภาพ และตายแล้วได้ไปสวรรค์ สิ่งที่จะทำให้ได้มาก็ด้วยการมีสัมปทา 4 คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ปัญญาในที่นี้หมายถึง นิวรณ์ นิวรณ์จะทำให้ไม่ละในสิ่งที่ควรละ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ จนทำให้การงานไม่เกิดผล จิตที่ไม่มีนิวรณ์จะแจ่มใสรู้แนวทางที่จะไป ที่ควรระวัง คือ พอเกิดธรรมที่ใครก็ปรารถนาได้แล้ว แต่เกิดลุ่มหลงไปจะทำให้ปัญญาสัมปทาหายไปทันทีเช่นกัน ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงให้ใช้ทรัพย์นั้นไปใน 4 หน้าที่ จึงจะถือว่าเป็นกรรมอันสมควร ในอนัณยสูตรเกี่ยวกับความสุข 4 ประการย่อมเกิดแก่คฤหัสถ์ตามกาลอันควร คือ สุขจากการมีทรัพย์ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์ สุขจากการไม่มีหนี้  และสุขจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ สุขข้อสุดท้ายที่แม้แบ่งถึง 16 ส่วน ส่วนเดียวใน 16 นี้ยังมีค่ามากกว่าสุขใน 3 ข้อแรกรวมกัน เพราะความสุขที่อยู่ในศีลธรรม จะทำให้ไปสุคติได้แม้จะไร้สุขอย่างอื่น ดังนั้น จึงควรตั้งมั่นในความดี ในพรหมสูตรจะได้ทราบว่าทำไมมารดาบิดาจึงประดุจพรหม ข้อสุดท้ายนิรยสูตรว่าด้วยการทำกรรม 4 ประการแล้วทำให้ไปนรก