00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวกโภชเนมัตตัญญุตา คือ การพิจารณาอาหารด้วยความแยบคายเป็นการใช้ปัญญา อานิสงส์นั้นได้ถึงการเป็นอนาคามี ในที่นี้ได้แยกการพิจารณาดังนี้ พิจารณาจากเวทนา เวทนาเก่าให้ลดหรือหายไป คือ ความหิว ความอยาก โรคภัยไข้เจ็บ เวทนาใหม่อย่าให้มี คือ ความอิ่มจนอึดอัด เวทนาใหม่ที่ระงับได้ เพราะอาหารบางประเภท แต่ต้องในปริมาณที่เหมาะสม โรคภัยใหม่ๆ ที่จากการกินเกินพอดีจากวัฒนธรรมน้ำจิ้ม ได้เปรียบการกินอาหารไว้กับอุปมา 3 อย่าง คือ อุปมาน้ำมันหยอดเพลาเกวียน ที่ใส่นิดเดียว ใส่มากไม่ดี ไม่ใส่ก็ไม่ได้ อุปมาผ้าปิดแผล ผ้าต้องพอดีเหมาะสม และอุปมาการกินเนื้อบุตร เห็นเป็นของปฏิกูล ไม่กินเพื่อเล่น ไม่กินเพื่อมัวเมา ไม่กินเพื่อตกแต่ง แต่กินเพื่อให้พอข้ามผ่านทางกันดารไปได้ เพื่อสะดวกต่อการประพฤติพรหมจรรย์ เทคนิคที่ใช้รับมือ คือ การนับคำทำให้จำกัดปริมาณ ไม่เกินต่อมอิ่ม กินมากเท่ากับฆ่าตัวตาย ก่อนกลืนให้นับครั้งการเคี้ยว จะทำให้รับรู้รสชาดได้เพิ่มขึ้นลดเวทนาใหม่ได้ และน้ำลายจะได้ลงไปช่วยย่อยในกระเพาะ นี้เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ นอกจากนี้ให้ระวังน้ำตาลตัวร้าย เพิ่มการทำ fasting สุดท้าย คือ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร 10 ประการ