นอนอย่างไรจึงเรียก “ตถาคตไสยา”…วิธีการนอนอย่างพระพุทธเจ้า คือ ให้สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (สีหไสยา) และมีการเจริญสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิในทุกอิริยบถ มีการประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น (ชาคริยธรรม) ไม่เพลิดเพลินหลงไหลไปตามกิเลส, ตื่นในที่นี้คือ พุทโธ นั่นเอง

การนอนอย่างตถาคตที่มีความเอ็นดูในสัตว์โลกทั้งปวง ถึงแม้อยู่ในท่านอน ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อความหลับไหล ไม่ได้เป็นไปด้วยความซบเซาหรือมัวเมา แต่เป็นไปด้วยจิตที่มีความเมตตากรุณาในสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ในอิริยาบถใดมันสบาย มีจิตใจที่อ่อนโยนดีงามตื่นอยู่

Time Index
[00:01] เริ่มการปฏิบัติด้วยตั้งสติขึ้น ทำความสงบไว้ในใจ เจริญเมตตาภาวนา เจริญพรหมวิหาร
[13:16] แกะรอยธรรม ในหัวข้อเรื่องของ “ไสยาคือการนอน” ใน 4 แบบ (เปต, กามโภคี, สีหะ, ตถาคต) พร้อมอธิบายโดยรายละเอียด
[24:40] โรคนอนไม่หลับ vs การพักผ่อนด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ไม่ว่าจะด้วยอิริยาบถใด
[29:19] ชาคริยธรรม (ธรรมอันเป็นเครื่องตื่น), นอนอย่างไรให้ตื่น, อิริยาบถกับความตื่นในใจมันคนละอย่างกัน
[39:05] บุคคล 5 จำพวกที่ตื่นในเวลากลางคืน
[45:47] การนอนกลางวัน
[52:00] สรุป ไม่ว่าจะนอนท่าไหน หรืออยู่ในอิริยาบถใด หากเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ มีจิตใจที่สูงที่ประเสริฐ ก็ถือว่าเป็นผู้ไม่หลับไหล แม้นอนก็ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่