ย้อนกลับมาในปฏิปทา 4: สสังขารสูตร สสังขาร หมายถึง อนาคามี สสังขารเป็นการพิจารณาความไม่งาม คือ ทุกขาปฏิปทานั่นเอง อสังขารเข้าสมาธิลึกเป็นสุขาปฏิปทา จับคู่กับปรินิพพานในปัจจุบันหรือตายแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ความแก่อ่อนของอินทรีย์ก็มาจากเสกขพละ

สมณสัจจสูตร: สัจจะของพราหมณ์ที่พระพุทธเจ้าเห็นด้วย ว่าเป็นคำจริง ไม่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ ประเสริฐ หรือเสมอ หรือด้อยกว่า เมื่อบุคคลมีสัจจะนี้แล้ว จะตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือ สัตว์ไม่ควรถูกฆ่า กาม และภพทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และไม่มีเรา/ไม่มีผู้อื่นเป็นที่กังวล

อุปกสูตร: น่าสนใจตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า การตักเตือนกันด้วยหลักธรรม แล้วไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง บุคคลที่เตือนนั้นไม่ควรถูกตำหนิ ให้ดูที่กุศลควรเจริญ หรืออกุศลที่ควรละ

สัจฉิกรณียสูตร: ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย คือ ทำกายให้เป็นที่ภาวนา ทำสมาธิให้เกิดขึ้น ให้แจ้งด้วยสติ คือ การตามระลึกถึงภพที่เคยผ่าน ให้แจ้งด้วยจักษุมีตาทิพย์เห็นการจุติ และอุบัติของสัตว์ แจ้งด้วยปัญญา คือ ทำอาสวขยญาณให้เกิดขึ้น

อุโปสถสูตร: ทรงสรรเสริญภิกษุด้วยความเป็นเทวดา: ฌาน 1 – 4, พรหม: พรหมวิหาร, อเนญชะ: อรูปฌานอริยะ: รู้อริยสัจ 4 จบโยธาชีววรรค

(จตุกกนิบาต: สสังขารสูตร ข้อที่ 169 โยธาชีววรรค ข้อที่ 185 และ 188 – 190)