“วิบากไม่เหมือนกับการกระทำ สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำนั้น เป็นอจินไตย” 

Q: กรรมดำกรรมขาวกับชีวิตประจำวันA: กรรม และผลของกรรม มี 4 ประเภท คือ กรรมดำให้วิบากดำ กรรมขาวให้วิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาวให้วิบากทั้งดำและขาว กรรมไม่ดำไม่ขาวให้วิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม สีขาวหรือสีดำในชีวิตประจำวัน ก็คือ เราทำความดีหรือความชั่ว ทำผิดหรือทำถูกตามหลักธรรมหรือไม่ ทำแล้วกิเลสลดหรือเพิ่ม เป็นไปตามมรรค 8 หรือไม่ หลักการ คือ พูดดีคิดดีทำดี ประเด็น คือ ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทำกรรมย่อมได้รับผลของกรรม ไม่ใช่ทำกรรมอะไรไว้ จะได้รับอย่างนั้น วิบากไม่เหมือนการกระทำ เปลี่ยนแปลงได้ตามการกระทำนั้น เหมือนความสัมพันธ์ของเกลือกับความเค็ม ที่ขึ้นกับปริมาณของน้ำที่มี วิบากมากน้อยก็ขึ้นกับปริมาณบุญที่มีดุจเดียวกัน วิบากเป็นอจินไตยยากจะพยากรณ์ แต่ให้มั่นใจได้ว่า กรรมให้ผลแน่นอน ที่น่าสนใจอีกประการ ก็คือ ทำไมทำแต่กรรมขาวจึงไม่สิ้นกรรม เพราะทำความดีก็ยังวนเวียนในกรรมดีนั้น มีสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเห็นความดีความชั่ว แต่ยังขาดสัมมาทิฏฐิในขั้นโลกุตระ คือ ปัญญาเห็นการเกิดการดับ เห็นความไม่เที่ยง จึงจะสิ้นกรรมเหนือโลกได้ ซึ่งกรรมไม่ดำไม่ขาวจะให้วิบากนี้ได้ เหนือโลกได้  

Q: พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ธรรมเดียวกันหรือไม่A: ตรัสรู้ธรรมเดียวกัน คือ อริยสัจ 4 มีความเหมือนหรือต่างกันในรายละเอียด เช่น ต้นไม้ที่ทรงตรัสรู้ อายุต่างกัน อริยสาวกซ้ายขาวเหมือนกันต่างที่บุคคล คำสอนที่ประกาศไว้มากหรือน้อย 

Q: ศีล 227 พระยุคนี้ยังรักษาได้อยู่หรือไม่A: ศีลมีมากกว่า 227 ไม่ว่ายุคไหน ภิกษุต้องรักษาอย่างเคร่งครัด แต่ความสามารถของคนเรานั้นต่างกัน กำลังไม่เท่ากัน ให้เข้าใจ พระเองก็เปลี่ยนแปลงได้ จากไม่ดีมาดีได้ เคร่งไม่เคร่งอย่าดูแค่สีจีวร วัดที่จำ ตราบใดที่ยังไม่ขาดศีลขั้นปาราชิกก็ยังเป็นภิกษุ ศีลอื่นถ้าขาดก็ถือว่าด่างพร้อย แต่ยังคงความเป็นพระ ศีลถ้ารักษาที่จิตข้อเดียวก็จบได้ 

Q: ลีลาการแสดงธรรมที่แตกต่าง อย่างไรจึงจะพอดีA: ถ้าการแสดงธรรมนั้น เอาธรรมะที่มีโทษน้อยมาระงับธรรมะอันที่มีโทษมากกว่า แล้วสอดแทรกธรรมะอื่นลงไป ก็นับว่าเป็นไปตามธรรม พิจารณาตามกาล ให้รักษาจิตเราไว้ในกุศลธรรม