พิจารณาความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลายโดยผ่านพุทธานุสติ สติจะเป็นตัวจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ในช่องทางใจ ทำให้สามารถแยกแยะได้ จิตจะไม่ไปเกลือกกลั้วตามสิ่งที่มากระทบ เป็นการทอนกำลังของสิ่งนั้นลง เมื่อสติมีกำลังสมาธิจะเกิดขึ้น เอาความสงบนั้นมาเป็นฐานในการรื้อถอนอวิชชา ก่อวิชชาให้เกิดจากการใคร่ครวญโดยแยบคาย คือ ใคร่ครวญเห็นถึงความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา ความไม่มีสาระแก่นสารอะไร ทุกสิ่งล้วนอาศัยเหตุปัจจัย ถ้าเงื่อนไขเหตุปัจจัยมีอยู่สิ่งนั้นก็ดำรงอยู่ ถ้าเงื่อนไขหายไป สิ่งนั้นก็ดับไป

ถ้าเราเผลอเพลิน เราจะเข้าไปยึดสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา จะมีความทุกข์เกิดขึ้นทันที แต่ถ้าตั้งสติมีสมาธิใคร่ครวญโดยแยบคาย พิจารณาตามความจริงว่ามันขึ้นตามเหตุปัจจัย อุปาทานความยึดถือจะอยู่ไม่ได้จะคลายออก จะเห็นตามจริงในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา วิชชาเกิดขึ้นทันที ความพ้น คือ วิมุตติก็เกิดขึ้นเช่นกัน จะทำให้เกิดได้ต้องมีการประกอบพร้อมกันของปัญญา สติ สมาธิ ดำเนินมาตามระบบของมรรค เมื่อวางได้แล้วสิ่งที่เหลือ คือสติ คือปัญญากับจิตที่ดำรงอยู่ด้วยดี มีความร่าเริง ไม่หวาดสะดุ้ง จิตดับจากไฟของกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามผัสสะ นี้คือ นิพพาน

Timeline
[00:02] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ผ่านพุทธานุสติ
[09:25] พุทโธทำให้จิตมีกำลัง ไม่เผลอเพลิน แยกแยะได้
[22:50] ใคร่ครวญโดยแยบคาย ให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา ล้วนอาศัยเหตุปัจจัย
[36:55] เมื่อเผลอเพลินจะยึดอนัตตาว่าเป็นอัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นราก
[42:08] ตั้งสติพิจารณาตามความจริง วิชชา และวิมุตจะเกิด
[52:08] การปล่อยวางอาศัยเงื่อนไขเหตุปัจจัย ปัญญา สติ สมาธิ
[56:06] วางแล้วจะเหลือสติเหลือปัญญากับจิตที่ดำรงอยู่ด้วยดี