Q: ปฏิบัติธรรม ร้องเพลงได้ไหม ?
A: สำหรับผู้ที่รักษาศีล 5 ร้องเพลง ฟังเพลงได้ แต่หากเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่รักษาศีล 8 ท่านห้ามเอาไว้ สำหรับนักบวช การที่มีเสียงขึ้นลงนั้นท่านให้ได้มากที่สุดคือการสวดทำนองสรภัญญะ ส่วนเนื้อเพลงท่านให้ได้แค่แต่งกลอน ที่ท่านห้ามไว้เพราะหากฟังเพลงร้องเพลงแล้ว ความเพลินความพอใจ มันจะมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ท่านสอนคือให้เราลดกามลง

Q: อรูปราคะในสังโยชน์เบื้องสูงหมายถึงอะไร?
A: ภพ แบ่งเป็น “กามภพ” คือ สภาวะที่ชุ่มอยู่ด้วยกาม หากละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 อย่างได้ จะเป็นพระโสดาบัน เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ แต่ยังอยู่ในกามภพ, “รูปภพ” คำว่า รูปในที่นี้หมายถึง รูปฌาน คือสมาธิขั้นที่ 1-4 หากยังยินดีในฌานสมาธินั้นอยู่ นั่นคือรูปราคะ, “อรูปภพ” คือ ตั้งแต่สมาธิขั้นที่ 5 ขึ้นไป ซึ่งก็คือ อรูปฌาน และถ้าเรายังมีความยินดีพอใจในสมาธิขั้นสูงนี้ นั่นคืออรูปราคะ

Q: สมาธิแบบไหนทำให้เกิดปัญญา?
A: สมาธิชนิดที่เป็นสัมมาสมาธิ หมายถึง มีองค์ 7 อย่าง แวดล้อมจิตที่เป็นหนึ่งอยู่ จิตที่เป็นหนึ่งนั้นเรียกว่า สัมมาสมาธิ ซึ่งจะมีปัญญาอยู่ในนั้น มีสมาธิ มีปัญญา จะเป็นที่ตั้งของวิชชาและวิมุตหลุดพ้นได้

Q: คนที่เนรคุณผิดศีลหรือไม่?
A: ถ้าเขาเนรคุณแล้วไม่ได้ทำผิดศีล เขาก็ไม่ผิดศีล แต่เนรคุณเป็นบาปที่ละเอียด เราต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียดจึงจะกำจัดได้ จะกำจัดเนรคุณได้ ก็ด้วยความรู้คุณ 

Q: ความแตกต่างของสีลัพพตปรามาส กับ สีลัพพัตตุปาทาน?
A: “สีลัพพต” คือ ศีล (ความเป็นปกติ) และ พรต (ข้อปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของนักบวช), “ปรามาส” คือ การจับต้อง ยึดมั่น ลูบคลำ, “อุปาทาน” คือ ความยึดถือ เมื่อยึดถือในศีลและพรต นั่นคือ “สีลัพพตตุปาทาน” เมื่อนำยึดมั่นในศีลและพรต นั่นคือ “สีลัพพตปรามาส” 


Tstamp

[02:38] โปฏิบัติธรรม ร้องเพลงได้ไหม?
[24:48] อรูปราคะในสังโยชน์เบื้องสูงหมายถึงอะไร?
[37:16] สมาธิแบบไหนทำให้เกิดปัญญา?
[46:30] คนที่เนรคุณผิดศีลหรือไม่?
[50:54] ความแตกต่างของสีลัพพตปรามาส กับ สีลัพพัตตุปาทาน?