ช่วงไต่ตามทาง:
- ผู้ฟังท่านนี้ปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการได้ยินเสียงในหัวอยู่ตลอด แต่คนอื่นไม่ได้ยิน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พยายามอยู่กับอาการนี้ให้ได้ โดยปรับกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตใหม่เพื่อรักษาจิต เวลาได้ยินเสียงอะไรก็จะไม่ส่งจิตตามไป ซึ่งควบคุมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
- ต้องทำความเข้าใจอริยสัจสี่ เข้าใจเรื่องทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพื่อให้อยู่กับทุกข์ได้ โดยไม่ทุกข์
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ภาพและเสียงในหัว
- ภาพหรือเสียงที่ผ่านเข้ามาทางตา ทางหู เข้าสู่จิตใจ จิตจะเข้าไปเกลือกกลั้วในอารมณ์นั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ามี “สติ” เป็นเครื่องป้องกันหรือไม่
- เสียงในหัวไม่ต่างจากเสียงที่ได้ยินจริง ๆ เช่น คำด่า ถ้าเราโกรธไปตามคำด่านั้น เราจะเป็นบ้า เพราะนั่นเป็นแค่เสียง ความโกรธที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้เราผ่านทางคำด่านั้น ถ้าเราไม่รับเอามา ความโกรธก็จะเป็นของเขาอยู่นั่นเอง
“ธัมมารมณ์” เกิดจากการปรุงแต่งของจิต อาจเกิดจาก
1. การปรุงแต่งที่เป็นญาณทัศนะจริง ๆ
2. การปรุงแต่งของอาสวะกิเลส
3. การปรุงแต่งจากสิ่งภายนอกมากระทบ
- ภาพหรือเสียงในหัว ที่เกิดเป็นธัมมารมณ์นั้น ต้องแยกแยะให้ได้ว่า เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใด ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งตามอารมณ์นั้นไป เพราะอาจเป็นกับดักของมารได้ จะทำให้เป็นบ้าไปตามอำนาจของราคะ โทสะ โมหะได้ เช่น ภาพหรือเสียงในหัวนั้นเป็นธัมมารมณ์ที่เกิดจากกิเลส แต่คิดไปว่าเกิดจากญาณทัศนะ แล้วเชื่อตามนั้น ตามอารมณ์นั้นไป เกิดปัญหาคิดว่าตนรู้วาระจิตผู้อื่น มีเจโตปริยญาณ หรือเข้าใจว่าตนบรรลุธรรมขั้นสูง
- “สติ” ที่มีกำลัง จะสามารถแยกแยะได้ว่าธัมมารมณ์นั้น เกิดจากการปรุงแต่งของจิตแบบใด
เครื่องป้องกันรักษาจิตไม่ให้บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ คือ
1. การรักษาศีล
2. การฝึกสติ
- เกิดผลเป็นสมาธิ ทำให้จิตไม่บ้าไปตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ ชั่วระยะเวลาที่สตินั้นดำรงอยู่
- พลังสติเพิ่มขึ้นได้ เช่น ไม่คุยฟุ้ง หลีกเร้น ไม่ยินดีในการหลับใหลแต่ประกอบด้วยธรรมะอันเป็นเครื่องตื่น รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ กินนอนให้เป็นการภาวนา
- กาย วาจา ใจ เป็นไปในทางไหนมาก จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง ในทางกลับกัน จิตของผู้ที่สะสมอาสวะไว้แบบใดมาก การปรุงแต่งจากจิต ก็จะแสดงออกไปทางกาย วาจา ใจแบบนั้น ดังตัวอย่างองคุลีมาล
- การปฏิบัติตามมรรค 8 จะลดความเป็นบ้าในจิตลงได้ ให้รักษากายและวาจาด้วยศีล รักษาใจด้วยสติและสมาธิ
- กรณีถึงขั้นเห็นภาพหลอน เสียงหลอน ต้องพบจิตแพทย์ ใช้ยารักษา เช่น ยากล่อมประสาท ให้สมองไม่ต้องคิดมาก ก็จะช่วยลดการคิดนึกปรุงแต่งของจิตลงได้บ้าง แต่การควบคุมจิตไม่มียารักษา ต้องปรับจิตด้วยตนเอง อาจใช้เครื่องมือจากสิ่งภายนอกมากระตุ้น เช่น คำสอนของพระพุทธเจ้า ช่วยให้เข้าใจ ทำให้สติมีกำลังเกิดขึ้นได้
- ความอยากให้ไม่มีภาพหรือเสียงในหัวนั้น เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ยิ่งอยากมาก ยิ่งทุกข์มาก จึงต้องอยู่กับสิ่งนี้ให้ได้ โดยไม่ทุกข์ ด้วยการตั้งสติไว้ให้ดี ไม่ไปตามความคิดนั้น
Tstamp
[05:20] ไต่ตามทาง
[15:00] พุทธภาษิต เรื่อง “ทรงเป็นพระพุทธเจ้าเพราะทำกิจสำเร็จแล้ว”
[16:50] ปรับตัวแปรแก้สมการ: ภาพและเสียงในหัว
[27:28] ธัมมารมณ์
[36:10] เครื่องป้องกันรักษาจิต
[45:08] จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นมีพลัง
[51:28] ความอยากให้ไม่มีภาพหรือเสียงในหัว