“กัลยาณมิตร” หมายถึง บุคคลที่ปรารถนาดี นำสิ่งดีงาม และเป็นกุศลมาสู่เรา กัลยาณมิตรมีหลายแบบได้แก่ 1) กัลยาณมิตรที่เป็นองค์ความรู้อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 2) เพื่อนที่ดี คือ ฆราวาสผู้พร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา 3) พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ 4) พระพุทธเจ้า ในครั้งนี้จะกล่าวรายละเอียดถึงกัลยาณมิตรแบบที่ 3 คือพระสงฆ์ครูอาจารย์ เราจะเลือกเอาพระสงฆ์ครูอาจารย์แบบใดมาเป็นกัลยาณมิตรที่ควรคบหาควรเข้าใกล้ ถึงแม้ว่าจะถูกไล่หนีก็ตาม  พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ควรเข้าใกล้ไว้ 7 ประการดังนี้ 

  1. เป็นผู้ไม่ชักนำไปในอฐานะ (จฎฺฐาเน นิโยชเย) คือไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ดีทางที่เสื่อมเสีย
  2. เป็นผู้มีความน่ารักใคร่พอใจ (ปิโย) คือเป็นลักษณะมีความเมตตา แผ่มาให้เกิดความรักใคร่พอใจ
  3. เป็นที่เคารพ (ครุ) คือเป็นผู้ที่มีความหนักแน่น มีหลักเกณฑ์หลักการ คุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง
  4. เป็นผู้ควรสรรเสริญ (ภาวนีโย) คือ เป็นผู้มีความรู้จริง มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอควรเอาเป็นแบบอย่าง
  5. เป็นผู้ฉลาดพูด (วตฺตา) คือรู้จังหวะรู้เวลาที่จะพูดที่จะสอนได้ และเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้
  6. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (วจนกฺขโม) คืออดทนที่จะพูดซ้ำๆในเรื่องเดิมๆได้โดยไม่เบื่อหน่าย
  7. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา) คือสามารถแจกแจงคำสอนได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง

Timestamp

[00:16] ปฏิบัติภาวนา เจริญกายคตาสติ
[06:44] บุคคลที่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร
[19:38] ปิโย เป็นที่น่ารักใคร่ พอใจ
[25:05] คุรุ เป็นที่เคารพ
[29:05] ภาวนีโย เป็นผู้ควรสรรเสริญ
[29:28] ภาวิตา การพัฒนา
[33:32] วตฺตา เป็นผู้ฉลาดพูด
[40:59] วจนกฺขโม ผู้อดทนต่อถ้อยคำ
[49:53] พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
[52:21] ไม่ชักนำไปสิ่งที่เป็นในอฐานะ