ข้อที่ #35_ทานูปปัตติสูตร ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน คือหวังการไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 หวังการไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นต่าง ๆ ทั้ง 6 ชั้น และหวังการไปเกิดเป็นพรหมในชั้นพรหมกายิกา แล้วด้วยเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จึงได้ตามที่ปรารถนาไว้ แต่ความปรารถนานั้นยังเป็นไปในทางต่ำ กล่าวคือมีความพอใจ มีความข้องอยู่ในภพนั้น จึงไม่อาจเห็นสิ่งที่จะเจริญกว่าหรือพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นไปได้ 

*ข้อสังเกต ผู้ที่หวังไปเกิดในชั้นพรหมกายิกา คือนอกจากจะเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ปราศจากราคะด้วย ในที่นี้ราคะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน (สมถะ) มิใช่ด้วยปัญญา

ข้อที่ #36_ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือการบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ศีล และภาวนา แล้วนำมาอธิบายได้ 8 นัยยะ โดยทั้ง 8 นัยยะนั้นไม่มีบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จได้ด้วยการภาวนาเลย โดยนัยยะแรกบุญที่เกิดจากทำทานและมีศีลนิดหน่อย ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคร้ายไม่มีอันจะกิน และนัยยะที่ 2 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลพอประมาณ ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคดี และนัยยะที่ 3-8 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลอันยิ่ง ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นและได้ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฐานะ 10 ประการในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ

**ข้อสังเกต การภาวนา คือการพัฒนาหรือการทำให้เจริญ เราสามารถทำทานของเราให้มีอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการให้ทานเพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความนุ่มนวลอ่อนเหมาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงปัญญาอันสูงสุด


ข้อที่ #37_สัปปุริสทานสูตร ว่าด้วยสัปปุริสทาน คือทานของสัตบุรุษ มีลักษณะ 8 ประการด้วยกัน

  1. ให้ของสะอาด
  2. ให้ของประณีต
  3. ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา
  4. ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้
  5. พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก
  6. ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ
  7. เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส
  8. ให้แล้วเบิกบานใจ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค


Tstamp

[05:08] ทานูปปัตติสูตร ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน
[26:22] ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ
[45:56] สัปปุริสทานสูตร ว่าด้วยสัปปุริสทาน