ผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นฑูตได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ในข้อที่ #16_ทูเตยยสูตรกล่าวถึงคุณสมบัติของทูตไว้ 8 ประการ คือ 

  1. รู้จักฟัง
  2. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
  3. ใฝ่ศึกษา ( ทบทวนเนื้อหานั้นได้ดี )
  4. ทรงจำได้ดี 
  5. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ( คือรู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ )
  6. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
  7.  ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ( รู้วิธีการขั้นตอนติดต่อเจรจา )
  8. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท

พระสูตรที่ว่าด้วย อาการที่เป็นเครื่องผูกใจ มาด้วยกัน 2 พระสูตร โดยพระสูตรที่ 1 อยู่ในข้อที่ #17_ปฐมพันธนสูตรอาการของสตรีที่ย่อมผูกใจบุรุษ และพระสูตรที่ 2 ในข้อที่ #18_ทุติยพันธนสูตร บุรุษย่อมผูกใจสตรีด้วยอาการ 8 ประการซึ่งมีข้อธรรมที่เหมือนกันดังนี้

1.    สตรี-บุรุษย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรูป

2.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม

3.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยวาจา

4.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยมารยาท ( การแต่งกายตามกาลเทศะ )

5.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า

6.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยกลิ่น

7.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรส

8.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยผัสสะ


ข้อที่ #19_ปหาราทสูตร เป็นเรื่องราวของท้าวปหาราทะจอมอสูรไปเขาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อสอบถามธรรม แต่ด้วยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิอาจถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อุปนิสัยจึงได้ตรัสถามปัญหาก่อน แล้วท้าวปหาราทะจอมอสูรจึงได้ทูลถามคำถามกลับที่หลัง เป็นลักษณะการอุปมาอุปไมยระหว่างสิ่งที่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยินดีของเหล่าอสูรในมหาสมุทร อุปไมยกับธรรมที่น่าอัศจรรย์ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี โดยมีลักษณะอุปมาอุปไมยดังนี้

  1. มหาสมุทรต่ำ-ลาด-ลึกลงไปโดยลำดับ => ธรรมวินัยนี้มีการศึกษา-มีการบำเพ็ญ-มีการปฏิบัติไปตามลำดับไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
  2. มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง =>สาวกทั้งหลายย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้
  3. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ => บุคคลใดมีธรรมเลวทรามเป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
  4. แม่น้ำทุกสายไหลรวมสู่มหาสมุทรเดียวกัน => จะอยู่วรรณะไหนเมื่อออกบวชมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้วมีชื่อรวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น
  5. แม่น้ำหรือสายฝนก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ => การปรินิพพาน ( ดับขันธ์ ) ของภิกษุไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้
  6. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม => ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส
  7. มหาสมุทรมีรัตนะมาก => สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
  8. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ => อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต มหาวรรค


Tstamp

[06:03] ข้อที่ 16 ทูเตยยสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของทูต
[22:43] ข้อที่ 17-18 ปฐม-ทุติยพันธนสูตร ว่าด้วยอาการที่เป็นเครื่องผูกใจ สูตรที่ 1-2
[31:58] ข้อที่ 19 ปหาราทสูตร ว่าด้วยท้าวปหาราทะจอมอสูร
[51:88] ประชาสัมพันธ์งาน “ขุมทรัพย์แห่งใจ”