Q : การวางจิตขณะเดินจงฺกม?

A : ตอนนั่งทำอย่างไรตอนเดินก็ทำอย่างนั้น ทำในทุก ๆ อิริยาบถ มีความเพียร ทำอย่างต่อเนื่อง อานิสงฆ์คือจะไปสู่ความเป็นอมตะ | นิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า

Q : ความสงบใจเกิดขึ้นได้อย่างไร?

A : หลักการคือเราจะรู้ถึงความสงบได้เราก็ต้องรู้ว่าที่ไม่สงบเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็ไม่ทำอย่างนั้น คือถ้าหากเรายินดียินร้าย สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ แล้วทำให้เราไม่สงบ เกิดอกุศล นั่นเป็นการปรุงแต่งที่เป็นโทษ แต่หากปรุงแต่งแล้วเกิดประโยชน์เกิดกุศล การปรุงแต่งนั้นเป็นประโยชน์ ซึ่งก็คือการปรุงแต่งด้วยมรรค8 ท่านได้กล่าวว่าในบรรดาธรรมทั้งหลาย มรรค 8 เป็นการปรุงแต่งที่ยอดเยี่ยม เพราะเมื่อปรุงแต่งแล้วทำให้กุศลเกิด อกุศลลด 

Q : ความอยากทุกประเภทเป็นกิเลสหรือไม่?

A : ความอยาก แปลมาจากคำว่า “ตัณหา” คือเหตุแห่งความทุกข์ คือความทะยาน ท่านอธิบายไว้ว่า “ตัณหานี้ใด 1) ทำการเกิดใหม่ให้เป็นปกติ 2) เป็นไปด้วยกับกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน 3) เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ถ้าเป็นความอยากใน 3 ลักษณะนี้นั่นคือ “ตัณหา” ถ้าไม่ใช่ความอยาก 3 ลักษณะนี้ “ไม่เป็นตัณหา” คือดูว่ากิเลสเพิ่มหรือลด ซึ่งหากเราปฏิบัติตามมรรค 8 แล้ว จะทำให้อกุศลลดลง กุศลเพิ่มขึ้น

Q : อุเบกขาและอัญญานุเบกขามีอาการอย่างไร?

A : “อุเบกขา” เป็นหนึ่งในพรหมวิหารสี่ แปลว่าการวางเฉย ลักษณะของพรหมวิหารสี่ มีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ คือ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณและไม่เว้นใครไว้ ให้เราปฏิบัติตามพรหมวิหารสี่ กระทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งทาง กาย วาจาและใจ เราจะอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข เพราะมันประกอบด้วยความไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น หากเรามีเงื่อนไขของความสุขน้อย เราก็จะมีความสุขมากขึ้น “อัญญานุเบกขา” คืออุเบกขาแบบไม่ฉลาด เช่น ตากผ้าไว้ฝนตกแต่ไม่เก็บผ้าบอกว่าอุเบกขาใส่ผ้าเปียกก็ได้ ซึ่งความจริงเราจะต้องเก็บผ้าไม่ใช่ว่าอุเบกขาแบบไม่ฉลาด


Tstamp

[02:56] การวางจิตขณะเดินจงฺกม?
[08:49] ความสงบใจเกิดขึ้นได้อย่างไร?
[20:19] ความอยากทุกประเภทเป็นกิเลสหรือไม่?
[29:19] อุเบกขาและอัญญานุเบกขามีอาการอย่างไร?