Q: “เรา” อยู่ตรงไหนในปฏิจจสมุปบาท?

A: ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมะที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ลักษณะกระบวนการของมันคือ “เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป” ทั้งคู่เกิดและคู่ดับ เป็นคู่ ทีละคู่ จะเอาคู่ไหนมาพิจารณาก็ได้ จิตของเรามันมีอวิชชา มันจึงไม่รู้ว่าไม่ต้องปรุงแต่งก็ได้ จิตเมื่อมีการปรุงแต่งก็จะทำให้เกิดการรับรู้คือวิญญาณ รับรู้ในสิ่งที่เป็นนามและรูปได้เท่านั้น / จิตอยู่ตรงกลางของคู่แต่ละคู่ที่มันจะเกิดดับ ที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราเพราะเรายึดถือ ถ้าเราดับความยึดถือได้ นั่นเป็นปัญญา ถ้าเราคลายความยึดถือตรงนี้ได้จะเกิดวิชชา ความยึดถือก็จะดับลง “เรา” เป็นของไม่จริง ปฏิจจสมุปบาทคือสัจจะความจริง เราจึงไม่เห็นว่าตัวเราอยู่ตรงไหนของปฏิจจสมุปบาท 

Q: อวิชชาทำให้เกิดสังขารได้อย่างไร?

A: สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีหลายนิยาม นิยามแรก หมายถึง การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ นิยามที่ 2 หมายถึงการปรุงแต่งให้สำเร็จรูปโดยความเป็นรูป ที่มันปรุงแต่งเพราะว่ามันไม่รู้ว่ามันไม่ต้องปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงก็ได้ มันจึงปรุงแต่งคือสังขาร จึงทำให้ท่านบัญญัติว่า “เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร” นั่นเอง

Q: ความต่างระหว่างเวทนาวิปัสสนากับสังขารวิปัสสนา

A: เหมือนกันในความที่เป็นวิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ เหมือนกัน อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ต่างกันที่เวทนาคือความรู้สึก สุข ทุกข์ อทุกขมสุข ส่วนสังขารคือการปรุงแต่ง 

“อดโทษ” ในความหมายที่ลึกซึ้ง ท่านสารีบุตรเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนมาก ตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้กล่าวกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่า “ขอให้ท่านทั้งหลาย อดโทษให้ข้าพเจ้าด้วย ถ้าข้าพเจ้าได้ทำสิ่งใดที่ให้ท่านไม่พอใจ อย่ายกโทษของข้าพเจ้าขึ้นมาว่าเป็นโทษของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้โทษเป็นของข้าพเจ้าคนเดียว อย่าเอาโทษนี้ทำให้เกิดความเคลือบแคลงในมรรค ในข้อปฏิบัติ อย่าเอาโทษข้อนี้มาทำให้เคลื่อนจากธรรมะ” 


Tstamp

[03:26] เราอยู่ตรงไหนในปฏิจจสมุปบาท?
[30:29] อวิชชาทำให้เกิดสังขารได้อย่างไร?
[40:36] ความต่างระหว่างเวทนาวิปัสสนากับสังขารวิปัสสนา
[44:16] “อดโทษ” ในความหมายที่ลึกซึ้ง