#107_มูสิกสูตร เปรียบบุคคลไว้กับหนู 4 จำพวก โดยเปรียบการ “ขุดรู” ของหนู คือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ และ เปรียบการ “อยู่” ของหนู คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ซึ่งบุคคลศึกษาดีแต่ไม่รู้(แจ้ง)ในอริยสัจก็มี และบางประเภทศึกษาน้อยแต่แจ้งในอริยสัจ แล้วมีทั้งที่ศึกษาแล้วทำให้แจ้งอริยสัจด้วยก็มี 

#108_พลิวัททสูตร เปรียบบุคคลไว้กับโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง

#109_รุกขสูตร เปรียบบุคคลไว้กับต้นไม้เนื้ออ่อนและต้นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งไม้เนื้อแข็งเป็นไม้มีแก่นเปรียบไว้กับคนมีศีล และไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ไม่มีแก่นเปรียบกับคนไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด

#110_อาสีวิสสูตร เปรียบบุคคลเหมือนอสรพิษ เอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า

#111_เกสิสูตร เปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้า มีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พระเทวฑัตและพระฉันนะ ให้มีเมตตากรุณาอย่าอุเบกขาอย่างเดียว 

#112_ชวสูตร คุณสมบัติของม้ากับของภิกษุที่คู่ควร ซื่อตรง คือ ศรัทธา ว่องไว คือ รู้อริยสัจชั้นโสดาบัน อดทนต่อทุกขเวทนา สงบเสงี่ยม คือ มีฌาน 4 

#113_ปโตทสูตร ม้าดีแต่มีความต่างกันต่อปฏักอยู่ 4 ระดับ คือ เห็นเงา แทงขน แทงผิว แทงกระดูก เปรียบดั่งการได้ยินได้รู้การตายของบุคคลในระดับต่าง ๆ จนถึงการตายของตนเอง 

#114_นาคสูตร คุณสมบัติช้างที่ดีในหนึ่งตัวมีครบสี่ กับบุคคลที่ถ้ามีครบก็เป็นอริยบุคคล รู้ฟัง: ใครกล่าวธรรมเงี่ยโสตฟัง รู้ประหาร: รู้จักละอกุศล รู้อดทน: อดทนต่อทุกขเวทนา รู้ไป: ไปนิพพาน ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลอันยาวนาน


Tstamp

[05:20] ข้อที่ 107 มูสิกสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหนู
[10:32] ข้อที่ 108 พลิวัททสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนโคผู้
[16:18] ข้อที่ 109 รุกขสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้
[20:00] ข้อที่ 110 อาสีวิสสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ
[27:50] ข้อที่ 111 เกสิสูตร ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
[39:05] ข้อที่ 112 ชวสูตร ว่าด้วยความว่องไวของม้าต้นและของภิกษุ
[42:18] ข้อที่ 113 ปโตทสูตร ว่าด้วยปฏักของสารถี
[50:24] ข้อที่ 114 นาคสูตร ว่าด้วยองค์ของช้างต้น