Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ
A: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)

  • การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้
    (1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด
    (2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา
    (3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ
  • อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล (ความคิดเบียดเบียน) ด้วยการแผ่เมตตา แม้สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนไป แต่เราจะไม่ทุกข์เท่าเดิม ความทุกข์จะผ่อนคลายลง

Q2: ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่
A: สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้ง 3 อย่าง ทั้งจากตัวเราทำเอง กรรมเก่า หรือผู้ที่มีฤทธิ์บันดาล

  • มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดสุดโต่ง
    (1) สุขหรือทุกข์เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว – จิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไร
    (2) การอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นจะสำเร็จโดยส่วนเดียว
    (3) สิ่งใดสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตนเท่านั้น – หากทำแล้วไม่สำเร็จก็จะเกิดความท้อใจ เสียใจได้
  • สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ สำเร็จก็ไม่ยึดติด มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ควรทำ ละสิ่งที่ควรละ
    -ในช่วงน้ำท่วม
    (1) ช่วยเหลือกัน
    (2) เข้าใจโลกด้วยปัญญา มีสติ = เห็นด้วยปัญญาว่าสุขก็มี ทุกข์ก็มี ละความยึดถือ เมื่อยอมรับได้ก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ทั้งทุกขเวทนาและสุขเวทนาจะแทรกซึมเข้ามาในจิตใจไม่ได้ จะทุกข์แค่ทางกาย แต่ไม่ทุกข์ใจ ให้มีสติตั้งไว้ แก้ปัญหาไปทีละสถานการณ์

Q3: ลูกติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นบาปหรือไม่
A: คำพูดด่าบริภาษ = คำหยาบ คำพูดเสียดสี ที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ไม่ว่าทำต่อใคร เป็นบาปทั้งสิ้น ยิ่งทำกับคนที่มีบุญคุณมาก ก็ยิ่งบาปมาก

  • คนที่ควรติเตียน หากไม่ติเตียน อันนี้ทำไม่ถูก
  • การติเตียน ให้ติเตียนที่พฤติกรรมซึ่งเกิดจากกิเลสบังคับให้ทำ ไม่ใช่ติเตียนที่ตัวบุคคล
  • การติเตียน ทำได้โดยไม่พูดเสียดสีที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ด้วยวาจาอันหยาบคายร้ายกาจ แต่ถ้าพูดเสียดสีแบบที่ทำให้กิเลสหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีหลุดลอกไป อันนี้ถูกต้อง
  • การติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องไม่ใช้คำด่าบริภาษ ดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ท่านจะรับฟัง ผู้พูดต้องใจเย็น การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ด้วยการให้ท่านออกจากบาป ตั้งอยู่ในความดี ประดิษฐานให้ท่านมีศีล เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำตอบ

Q4: ทำชั่ว โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความชั่ว บาปหรือไม่
A: แยกเป็น 2 กรณี

  • กรณีแรก ทำโดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด = เป็นโมหะ เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ปฏิเสธว่าสิ่งนั้นไม่มี เพราะตนไม่เห็น
  • กรณีสอง ทำดีแต่เบียดเบียนผู้อื่น = ต้องแยกส่วน อย่าเหมารวม ให้แยกส่วนดีที่ควรยกย่อง และส่วนไม่ดีที่ควรติเตียน แล้วค่อยกำจัดสิ่งที่ควรติเตียน เพิ่มส่วนที่ควรยกย่อง

Tstamp

[00:55] ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ
[19:17] ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่
[29:28] ติเตียนพ่อแม่ที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง บาปหรือไม่
[47:38] ทำชั่วโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความชั่ว บาปหรือไม่