##259 และ 260_ปฐมและทุติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย (สูตรที่ 1-2) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุปมาอุปไมยด้วยม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ซึ่งถ้าเปรียบเป็นคน ก็คือผู้ที่ปฏิบัติดีเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ โดยดูจาก 

  1. วรรณะ คือ ศีล 
  2. กำลัง คือ ความเพียรที่ทำให้กุศลใหม่เกิดที่มีอยู่แล้วให้พัฒนา และอกุศลเดิมให้ลดที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามา
  3. เชาว์ คือ ฝีเท้า (ปัญญา) การรู้ตามความเป็นจริงในอริยสัจสี่ นั่นคือ “การเป็นโสดาบัน” ซึ่งนัยยะของข้อ 260 ดูจากการทำให้แจ้งในเจโต และปัญญาวิมุติ นั่นคือ “อรหัตผล” จะเห็นว่าในระหว่างข้อทั้งสองนี้ ก็คือ อริยบุคคลที่เหลือนั่นเอง
  4. ความสมบรูณ์ด้วยทรวดทรง คือ ความสมบรูณ์ด้วยปัจจัยสี่ 

นอกจากนี้ยังทบทวนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในข้อที่ผ่าน ๆ มากับการอุปมาอุปไมยว่าด้วยม้าอาชาไนยนี้ ม้าทุกตัวต้องผ่านการฝึก คนจะเป็นอริยบุคคลได้ก็ต้องฝึกเช่นกัน

#261_พลสูตร ว่าด้วยพละ พละคือกำลัง บุคคลที่ประกอบด้วยพละ 4 นี้ จึงจะมีกำลังใจ คือ วิริยะพละ = ความเพียร 4 / สติพละ = สติปัฏฐาน 4 / สมาธิพละ = ฌานทั้ง 4 / ปัญญาพละ = ชำแรกกิเลส ซึ่งพละ 4 นี้ ต่างจากพละ 5 ตรงที่ไม่มีข้อของศรัทธา

#262_อรัญญสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า ถ้ามี 4 ข้อนี้แล้วไม่ควรอยู่ เพราะไปอยู่แล้วก็ไม่เป็นตาอยู่ หรืออยู่แล้วฟุ้งซ่าน และถ้าขาดกัลยาณมิตรแนะนำจะจิตแตกได้ แต่ถ้าทำเป็นแล้วรู้วิธีการ และไม่มีใน 4 ข้อนี้ ก็สามารถอยู่ได้ คือ ตริตรึกในทางกาม ความพยาบาท ความคิดในทางเบียดเบียน และเป็นคนเซอะ

#264_กัมมสูตร ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ เปรียบเทียบอสัตบุรุษและสัตบุรุษโดยดูจากกายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ และทิฏฐิที่มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรค กัมมปถวรรค


Tstamp

[03:41] ข้อที่ 259 ปฐมอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ 1
[12:02] ข้อที่ 260 ทุติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ 2
[15:37] เกสิสูตร ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
[18:00] องค์ประกอบของม้าอาชาไนย 3 ประการ (ติกนิบาต)
[26:00] ม้าอาชาไนยกับนัยยะที่หลากหลายในหมวดต่าง ๆ
[32:55] ข้อที่ 261 พลสูตร ว่าด้วยพละ
[41:35] ข้อที่ 262 อรัญญสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า
[50:43] ข้อที่ 263 กัมมสูตร ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ