Q : นั่งสมาธิแล้วคิดเรื่องกามบ้าง ไม่กามบ้าง คือหลุดจากสมาธิ?

A : หากยังคิดเรื่องกามอยู่ นั่นยังไม่เกิดสมาธิ สมาธิจะเกิดได้ต้องฝึกสติ ต้องแยกแยะความคิดที่ผ่านมาให้ได้ ว่าเป็นกุศล (คิดมาในการหลีกออกจากกาม ไม่พยาบาทเบียดเบียน) หรืออกุศล (คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน) พยามไม่บังคับกายไม่บังคับจิต ใช้เครื่องมือคือสติ ควบคุม (ไม่ใช่บังคับหรือละเลย) ฝึกสังเกต กำหนดดู ระลึกรู้ ไม่ว่าจะมีความคิดที่ผ่านเข้า-ออก จะตามความคิดไปหรือไม่ตาม จะมีความคิดหรือไม่มีความคิด ก็ไม่ลืมลม พอเราฝึกสติแล้วสติมีกำลัง สมาธิก็จะตามมา 

Q : ความสุขในสมาธิ

A : เป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยตนเอง เปรียบดังเราจะรู้ว่าอาหารร้านนี้อร่อยแค่ไหน เราก็ต้องไปทานด้วยตัวเอง สมาธินั้นจะไม่ได้ด้วยความอยาก แต่ได้ด้วยการสงบระงับ ด้วยการะงับการปรุงแต่ง สติจะเป็นตัวแยกแยะ จัดระเบียบ ทำไปเป็นขั้น อย่าข้ามขั้น จะก้าวหน้าตามลำดับ แล้วเราจะรู้เองเห็นเอง เราปฏิบัตินั้นไม่ได้จะเอาเวทนา ไม่ได้จะเอาสุข แต่ปฏิบัติเอาปัญญา เอาการรู้แจ้ง เอาการเข้าใจ สุขเวทนาเป็นทางผ่าน เป็นทางที่เป็นกุศล ให้เห็นว่าสุขเวทนาเป็นของไม่เที่ยง เราก็จะผ่านไปได้

Q : เพลิน กับ ภวังค์

A : เพลินในภายใน คือ ตั้งสยบอยู่ในภายใน สมาธิที่มีปิติสุข คือ ตั้งสยบในภายใน การเข้าภวังค์ คือ เหมือนหลับแต่ไม่ใช่หลับ สติไม่มี คือเพลินไปในสมาธิ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ทำให้เห็นไปตามจริง เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ภวังค์เป็นกำลังของสมาธิเกินมา น้อมไปในทางขี้เกียจ การแก้ไขถ้าตกภวังค์ สิ่งแรกคือต้องมีสติรู้ตัวอยู่ในทุกที่ หากเราเพลินไปในสมาธิ สมาธิเกินกำลัง เราต้องเพิ่มความเพียร ฝึกเห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่าง ๆ พอเราเห็นตรงนี้ นั่นคือปัญญา

Q : การพิจารณา กับ ฟุ้งซ่าน

A : ถ้าแยกไม่ได้แสดงว่าสติยังไม่เต็มที่ ควรเริ่มจากากรฝึกสติ โดยทำศีลให้ละเอียด รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ ประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น มีความสันโดษ ด้วยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้สติมีกำลัง เริ่มแยกแยะได้ 

Q : ประโยชน์จะงดงามเมื่อสำเร็จ

A : สำเร็จแล้วจึงรู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างนี้ ตอนทำสมาธิไม่ได้ก็ไม่รู้ประโยชน์ แต่พอได้มาแล้วจึงรู้ว่ามันดีอย่างไร ประโยชน์ไม่ใช่แค่ภพนี้แต่ถึงภพหน้า ประโยชน์ในโลกุตตรธรรม มรรคคือสิ่งที่งดงาม 


Tstamp

[04:03] นั่งสมาธิแล้วคิดเรื่องกามบ้าง ไม่กามบ้าง คือหลุดจากสมาธิ?
[19:36] ความสุขในสมาธิ
[28:45] เพลิน กับ ภวังค์
[37:11] การพิจารณา กับ ฟุ้งซ่าน
[44:13] ประโยชน์จะงดงามเมื่อสำเร็จ