ผลหรืออานิสงส์แห่งทานนั้นจะมากหรือน้อยย่อมอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นความปราณีตของทาน หยาบหรือละเอียด รวมไปถึงความศรัทธาของผู้ให้ ก่อนให้-ระหว่างให้-หลังให้ และผู้รับที่มีกิเลสเบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส หรือเป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว 


ในข้อที่ #52_ทานมหัปผลสูตร เป็นเรื่องราวที่ชาวเมืองกรุงจำปามีข้อสงสัยในเรื่องผลแห่งทาน ว่า “ทำไมทานที่เหมือนกัน จึงให้ผลที่แตกต่างกัน” โดยมีท่านพระสารีบุตรเป็นตัวแทนในการกราบทูลถามพระผู้มีภาคเจ้า แล้วคำตอบก็คือ “การตั้งจิตของผู้ให้ทานนั่นเอง” โดยได้อธิบายไว้ถึง 7 ระดับด้วยกัน และมีอานิสงส์ให้ไปเกิดในสวรรค์ 6 ชั้น ไล่ไปตามลำดับจนไปถึงชั้นพรหมกายิกา โดยมีรายละเอียดในการให้ทานเพราะ

  1. หวังผลของทาน – ให้ด้วยความอยาก
  2. การให้ทานเป็นการดี – ให้เพราะยำเกรง
  3. บรรพบุรุษเคยทำไว้ – ให้เพราะละอายกลัวบาป
  4. สมณะจะหุงหาอาหารกินเองไม่ได้ – ให้ของดี ๆ ก่อน
  5. เป็นทักขิไนยบุคคล – ให้ของที่ควรแก่ทักขิไนยบุคคล
  6. ให้แล้วจิตผ่องใส 
  7. เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต – เพื่อให้จิตเกิดสมถะและวิปัสสนา


ข้อที่ #53_นันทมาตาสูตร ความน่าอัศจรรย์ในธรรม 7 ประการของนันทมาตา หรือที่คุ้นเคยในชื่อของนางอุตตรานันทมาตา ซึ่งนางได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะฝ่ายอุบาสิกาในการยินดีในฌาน เป็นเรื่องราวของการสวดปารายนสูตรของนางนันทมาตา แล้วท้าวเวสวัณมหาราชได้มาสดับฟังจนจบอนุโมทนาในบุญกุศล เป็นเหตุให้นางได้พบพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร แล้วได้เล่าถึงความน่าอัศจรรย์ทั้ง 7 ประการของนางให้ท่านทั้งสองฟัง

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “ทานมหัปผลสูตร ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก

อ่าน “นันทมาตาสูตร ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา


Tstamp

[05:47] ข้อที่ 52 ทานมหัปผลสูตร ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก
[31:09] ข้อที่ 53 นันทมาตาสูตร ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา