อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่

นัยยะแรก

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม

3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก

5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น

6. ยินดีในเสนาสนะป่า

7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก

นัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย

นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา

นัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

นัยยะที่ 5 เจริญสัญญา 7 ประการ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา จวิราคสัญญา นิโรธสัญญา

นัยยะที่ 6 คือเจริญสาราณียธรรม 6 ประการ

นี่คือนัยยะต่างๆของ อปริหานิยธรรม ถ้าเรามีเหตุเงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ความเสื่อมจะไม่ปรากฎขึ้นเลย


Time stamp

[00:19] ปฏิบัติภาวนา เจริญอุเบกขา
[05:17] อปริหานิยธรรม. : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
[15:38] หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
[15:55] พร้อมเพรียงกันประชุม
[23:20] ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
[36:11] เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก
[39:16] ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น
[42:57] ยินดีในเสนาสนะป่า
[46:14] ตั้งสติระลึกให้เพื่อนพรหมจารี ผู้มีศีลงาม อยู่ผาสุก