อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ


ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑)

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม – เลิกประชุม – ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ 
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ 
  4. เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 
  5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น
  6. ยินดีในเสนาสนะป่า
  7. ตั้งสติระลึกไว้ว่า เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก 


ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒)

  1. ไม่ยินดีในการงาน เช่น การทำจีวร หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ
  2. ไม่ชอบการพูดคุย – ไม่สนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย (เรื่องกาม)
  3. ไม่ชอบการนอนหลับ – อันเป็นเหตุแห่งความหดหู่และเซื่องซึม
  4. ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
  5. ไม่ปรารถนาชั่ว
  6. ไม่มีมิตรชั่ว
  7. ไม่หยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ


ข้อที่ 25_ตติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๓) คือ ศรัทธา – ศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย / หิริ / โอตตัปปะ / พหูสูต – สดับฟังธรรม / ความเพียร / สติ / ปัญญา


ข้อที่ 26_โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม ก็คือยกโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการมา (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “ปฐมสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๑”

อ่าน “ทุติยสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒”

อ่าน “ตติยสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓”

อ่าน “โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม”

ฟัง “อปริหานิยธรรม – หลักธรรมของกษัตริย์วัชชี”


เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่องค์การยูเนสโกให้การยกย่อง (พ.ศ.2566 – พ.ศ.2567) และวาระครบรอบ 124 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย – รัสเซีย  คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิ ดร.ธวัช มกรพงศ์ ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ อักขระคิริลิซซา สำหรับชนชาติรัสเซีย วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. – 16.30.น. ( 12.30 น. เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมสัมมนา ) ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช ชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) 

หัวข้อสัมมนา

  1. การออกเสียงปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร 
  2. นวัตกรรมและมุมมองจากภูมิปัญญาพระไตรปิฎกสากล โดยวิทยากร พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
  3. การถอดเสียงบทสวดปาฬิภาสา ด้วยอักขระคิริลิซซา โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธเนศ ปุรณสุธีมงคล อาจารย์ประจำของสาขาวิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    (การสัมมนาครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ)

Tstamp

[03:25] ปฐมสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๑
[23:25] ทุติยสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒
[39:05] ตติยสัตตกสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓
[41:45] โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม
[50:45] งานสัมมนาเชิงวิชาการ “เรื่องพระไตรปิฎกสากล”