หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาก่อน แล้วยกธรรม 3 ข้อหลังขึ้นมาเพื่อละธรรม 3 ข้อแรกนั้น

#112_อัสสาทสูตร ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ (อัสสาทะ หมายถึง ความยินดี ความพอใจ รสอร่อยในกามคุณ / ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น *ในที่นี้หมายถึงความเห็นผิด)

1.      อัสสาททิฏฐิ – ความเห็นผิดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความยินดี เพลินพอใจไปในกามคุณ เห็นแต่ข้อดีอย่างเดียว (คือ รสอร่อย) ไม่เห็นโทษอันต่ำทราม คือ ความที่มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อาทีนวะ)

–         ควรเจริญ “อนิจจสัญญา” (คือ ความหมายรู้โดยความเป็นของไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ

2.      อัตตานุทิฏฐิ – ความเห็นผิดว่านี่เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา (สักกายทิฏฐิ)

–         ควรเจริญ “อนัตตสัญญา” (คือ หมายรู้โดยความเป็นของที่ไม่ใช่ตัวตน) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ

3.      มิจฉาทิฏฐิ – ความเห็นผิดไปจากคลองธรรม เช่น บาป-บุญ-วิบากแห่งกรรมไม่มี, การให้-การบูชาไม่มีผล.. ฯ

–         ควรเจริญ “สัมมาทิฏฐิ” เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ

*ข้อสังเกต – ทุกสิ่งมีทั้งคุณและโทษ (อัสสาทะ และ อาทีนวะ) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ให้เราเป็น “ผู้ที่ฉลาดในคุณและโทษ” คือ ไม่เพลินไปในสุข และเห็นโทษที่มันเป็นของไม่เที่ยง

#113_อรติสูตร ว่าด้วยอรติ คือ ความไม่ยินดีที่ผู้อื่นได้ดี

1.      อรติ (ความไม่ยินดี-อิจฉา) – ควรเจริญมุทิตา (ความยินดี) เพื่อละอรติ

2.      วิหิงสา (ความเบียดเบียน) – ควรเจริญอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสา

3.      อธัมมจริยา (การประพฤติอกุศลกรรมบถ 10) – ควรเจริญธัมมจริยา (ความประพฤติกุศลกรรมบถ 10) เพื่อละอธัมมจริยา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค

อ่าน “อัสสาทสูตร ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “เจริญธรรม-เพื่อละธรรม”


Timeline

[04:08] อัสสาทสูตร ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ
[36:36] อรติสูตร ว่าด้วยอรติ