หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาแสดง แล้วตามด้วยธรรม 3 ข้อหลังเพื่อการละธรรม 3 ข้อแรกนั้น

#107_ราคสูตร ว่าด้วย ราคะ โทสะ โมหะ

1. ควรเจริญอสุภะ (ความเป็นของไม่งาม-ปฏิกูล) เพื่อละ ราคะ

2. เจริญเมตตา เพื่อละ โทสะ – ลักษณะของเมตตาที่เป็นไปเพื่อละโทสะ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ 3. ไม่มียกเว้นใคร

3. เจริญปัญญา เพื่อละ โมหะ – ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญญา คือ กัลยาณมิตร (มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเลือกคบคนดี) และการโยนิโสมนสิการ

#108_ทุจจริตสูตร ว่าด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ควรเจริญกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

*ข้อสังเกต -การฝึกให้มีความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ เป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นเหตุ-ผลในการละ ราคะ โทสะ และโมหะนี้ด้วย

#109_วิตักกสูตร เน้นมาในจิตใจ-ความคิด ว่าด้วย กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก(คิดเบียดเบียน)

1. ควรเจริญเนกขัมมวิตก เพื่อละกามวิตก

2. เจริญอพยาบาทวิตก เพื่อละพยาบาทวิตก

3. เจริญอวิหิงสาวิตก เพื่อละวิหิงสาวิตก

#110_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา และ #111_ธาตุสูตร ว่าด้วยธาตุ มีเนื้อหาแบบเดียวกันกับข้อ#109_วิตักกสูตร เพียงเปลี่ยนจากวิตกมาเป็นสัญญา (กำหนดหมายรู้) และเป็นธาตุแทน

*ข้อสังเกตุ – เพราะมีธาตุ จึงมีสัญญา และสังขารปรุงแต่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค 

อ่าน “ราคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”


Timeline

[05:59] ราคสูตร ว่าด้วยราคะ
[39:15] ทุจจริตสูตร ว่าด้วยทุจริต
[20:25] ลักษณะของเมตตา
[51:41] วิตักกสูตร ว่าด้วยวิตก / สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา / ธาตุสูตร ว่าด้วยธาตุ