การมาเห็นสังขารทั้งหลาย (ขันธ์ 5) เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเห็นอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะเกิดอานิสงส์อย่างมาก จิตน้อมไปสู่กระแสนิพพาน “อนุโลมิกขันติ” จะหยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ “สัมมัตตนิยาม” และจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ข้อที่ 102-104 ว่าด้วย เรื่องอานิสงส์ 6 ประการ ที่เกิดขึ้นจากเห็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ในสังขารทั้งหลาย เป็นการเห็นอย่างไม่มีขอบเขต

#102_อนวัฏฐิตสูตร เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง “อนิจจสัญญา” อานิสงส์ คือ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงแล้ว จิตจะไม่ยินดี จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะละความยึดถือเครื่องร้อยรัด (สังโยชน์) ทำให้เกิดผลยอดเยี่ยม (สามัญญผล)

#103_อุกขิตตาสิกสูตร เห็นโดยความเป็นทุกข์ “ทุกขสัญญา” อานิสงส์ คือ จะเกิดความเบื่อหน่าย “นิพพิทาสัญญา” จิตก็จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะถอนอนุสัยได้ (กิเลส ความเคยชิน) จะทำตามหน้าที่ มีจิตเมตตาบำรุงพระศาสดา (ปฏิบัติบูชา)

#104_อตัมมยสูตร เห็นโดยความเป็นอนัตตา “อนัตตสัญญา” อานิสงส์ คือ จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิ (อตัมมยะ) ก็จะดับอหังการ มมังการได้ (ทิฏฐิและตัณหาว่าเป็นเราของเรา) จะมี “อสาธารณญาณ” เข้าใจในเหตุ-ผล ถอนความยึดถือได้

#105_ภวสูตร ควรละ ภพ 3 (คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ) และควรศึกษาใน สิกขา 3 (คือ ศีลอันยิ่ง จิตอันยิ่ง ปัญญาอันยิ่ง)

#106_ตัณหาสูตร ควรละ ตัณหา 3 (คือ ความอยากในกาม รูป อรูป) และมานะ 3 (คือ ถือตัวว่า ดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อานิสังสวรรค

อ่าน “อนวัฏฐิตสูตร ว่าด้วยความไม่มั่นคง” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “อานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล – อนุโลมิกขันติ”


Timeline

[05:36] ข้อที่ 102 อนวัฏฐิตสูตร ว่าด้วยความไม่มั่นคง
[19:17] ข้อที่ 103 อุกขิตตาสิกสูตร ว่าด้วยนิพพิทาสัญญาเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น
[37:07] ข้อที่ 104 อตัมมยสูตร ว่าด้วยอตัมมยะ
[48:18] ข้อที่ 105 ภวสูตร ว่าด้วยภพและสิกขา – ข้อที่ 106 ตัณหาสูตร ว่าด้วยตัณหาและมานะ