“อนุโลมิกขันติ” คือ กระแสแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ผู้ที่เข้าถึงกระแสนี้แล้ว ย่อมเห็นความเป็นกฏไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า

#96_ปาตุภาวสูตร การปรากฏขึ้นของเหตุ 6 ประการนี้ หาได้ยากในโลก ได้แก่

  1. การปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้า
  2. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
  3. ผู้เกิดในถิ่นที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า
  4. ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือ มีความปกติทางกายและจิตใจ (อินทรีย์ 5)
  5. ไม่โง่เขลา
  6. พอใจในกุศลธรรม

#97_อานิสังสสูตร อานิสงส์ของผู้ที่ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว คือ มีความเที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน / มีความไม่เสื่อม(ไม่อาจทำเหตุให้ไปตกอบาย) / ทำความดับทุกข์ได้ / มีอสาธารณญาณ (ปัญญาญาณ) / เห็นเหตุ / เห็นผลในธรรมที่เกิดขึ้น

ข้อที่ 98-99-100-101 เป็นธรรมที่ประกอบด้วย “อนุโลมิกขันติ” แต่ละข้อจะว่าด้วย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และ นิพพาน โดยในแต่ละหัวข้อ แบ่งออกได้เป็น 3 คู่ ซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกัน

#98_อนิจจสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง หยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้องได้ คือ สัมมัตตนิยาม และ จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นของเที่ยง…ฯ

#99_ทุกขสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์… ฯ ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นสุข…ฯ

#100_อนัตตสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่าธรรมเป็นอนัตตา… ฯ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่าธรรมเป็นอัตตา…ฯ

#101_นิพพานสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นนิพพานเป็นสุข… ฯ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่านิพพานเป็นทุกข์…ฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อานิสังสวรรค

อ่าน “ปาตุภาวสูตร ว่าด้วยเหตุปรากฏ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้-โสดาบัน”


Timeline

[05:31] ข้อที่ 96 ปาตุภาวสูตร ว่าด้วยเหตุปรากฏ
[17:47] ข้อที่ 97 อานิสังสสูตร ว่าด้วยอานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล
[30:57] ข้อที่ 98 อนิจจสูตร ว่าด้วยความเป็นของไม่เที่ยง
[38:43] ข้อที่ 99 ทุกขสูตร ว่าด้วยความเป็นทุกข์ และ ข้อที่ 100 อนัตตสูตร ว่าด้วยความเป็นอนัตตา
[43:02] ข้อที่ 101 นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพาน