อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน มี 8 จำพวก แบ่งได้เป็น 4 คู่ ซึ่งในแต่ละคู่นั้น แบ่งออกเป็นขั้นอริยมรรค และขั้นอริยผล

โสดาบัน คือ อริยบุคคลพวกแรกที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน

ประเภทของโสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เอกพีชี, โกลังโกละ, สัตตักขัตตุงปรมะ

คุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบันทั้งในขั้นมรรคและขั้นผลนั้น ก็จะประกอบไปด้วย โสตาปัตติยังคะ 4 (ผู้มีศรัทธาหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีศีลบริบูรณ์) และในขั้นผลก็จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการแรกได้ (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) กล่าวโดยย่อ คือ “เป็นผู้มีศรัทธา และมีศีลเต็มบริบูรณ์ มีสมาธิ และปัญญาพอประมาณ”

ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ เห็นตามความเป็นจริง) ได้แก่

#94_ตติยอภัพพัฏฐานสูตร (สูตรที่ 3) ไม่อาจจะทำอนันตริยกรรม 5 ได้ และไม่อาจนับถือศาสนาอื่น หรือศาสดาอื่นได้ คือ ไม่เอามาเป็นสรณะ (ที่พึ่ง)

#95_จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร (สูตรที่ 4) โดย 3 ข้อแรก คือ ไม่อาจจะยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดจากตนเองทำไว้ / ผู้อื่นทำไว้ / ทั้งตนเองและผู้อื่นทำไว้ และ 3 ข้อหลัง คือ ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง (เกิดขึ้นเองลอย ๆ) ที่ตนเองไม่ได้ทำไว้ / ผู้อื่นไม่ได้ทำไว้ / ทั้งตนเองและผู้อื่นไม่ได้ทำไว้

โสดาปัตติผล จะละสักกายทิฏฐิได้ คือ จะละความเห็นว่าเป็นตัวตนได้ จะเห็นตามความเป็นจริงว่า “ ความสุข หรือ ความทุกข์นั้น เกิดจากเหตุ คือ ผัสสะ และเพราะมีผัสสะ จึงมีเวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ มิใช่สุข-มิใช่ทุกข์) เมื่อมีเหตุจึงเกิด – หมดเหตุจึงดับ

*สิ่งที่จะใช้ละสักกายทิฏฐิได้ คือ ปัญญาเห็นตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สีติวรรค

อ่าน “ตติยอภัพพัฏฐานสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ-โสดาบัน”


Timeline

[05:43] ผู้เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน
[07:48] ตติยอภัพพัฏฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ 3
[13:22] จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ 4
[18:55] ความเหมือนความต่างระหว่างโสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผล
[23:07] ละสักกายทิฏฐิได้ด้วยปัญญาเห็นอย่างถูกต้อง
[26:05] เข้าใจเหตุเกิดสุขและทุกข์ คือ ผัสสะ
[39:40] สรุปคุณสมบัติของโสดาบัน
[41:53] เครื่องสอบโสดาบัน