เจริญอานาปานสติ เพื่อให้ สติ, จิต, ลมหายใจ อยู่ด้วยกัน, บางครั้งเราอาจเผลอ เพลินไปกับสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ, หากแต่ท่านบอกว่าให้สละสุขออก เพื่อเอาสุขที่ละเอียดยิ่งขึ้น ประณีตกว่า, ให้เราค่อย ๆ สละ สุขออก, ลักษณะแบบนี้ คือ การพัฒนา หรือภาวนา, สติ-สมาธิมีขึ้น, จากนั้นใคร่ครวญเพื่อให้เกิดปัญญาว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีความไม่เที่ยง อาศัยเงื่อนไขปัจจัย ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป, ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา, เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ได้ยาก, ไม่ควรที่เราจะไปยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา, พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, เพื่อละความยึดถือในตัวเราของเรา, ทำซ้ำ ทำย้ำลงไป “สละสุขพอประมาณ เพื่อให้ได้สุขอันไพบูลย์ ละเอียดประณีตกว่า”, จะ ละ สักกายทิฏฐิ, ละ วิจิกิจฉา, ละ สีลัพพตปรามาสได้ คือโสดาบัน และมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว, วิปัสสนา ที่เรากระทำแล้ว, ปัญญาจะเจริญ, เกิดปัญญาแล้ว, จะ ละ อวิชชาคือความไม่รู้, เกิด “วิชชา”ได้.


Timeline

[00:01] สละสุขพอประมาณเพื่อพบสุขอันไพบูลย์ โดยเริ่มจากอานาปานสติ
[09:06] สติมีเพื่อลดความเพลิน ผูกสติเหมือนผูกสัตว์ทั้งหก
[17:27] สติอยู่ตรงอนุสติ จิตรู้จักแยกแยะ ไม่บังคับ แต่ควบคุม เกิดความสงบระงับ
[34:44] เห็นโทษในสุขพอประมาณ ละเพื่อสุขอันไพบูลย์ นี่คือ การพัฒนา
[39:18] ปัญญาพัฒนาให้เห็นตามความเป็นจริง อนัตตา ไม่ควรค่าแก่การยึดถือ
[47:51] วิปัสสนาเกิดปัญญาเพื่อละอวิชชา ดับเย็น