Q: ควรวางจิตอย่างไร เมื่อต้องอยู่กับบริวารที่มีแต่การใส่ร้าย?
A: ให้อดทนอยู่กับมันให้ได้ ความอดทนไม่ใช่เก็บกด เพราะเมื่อเก็บกดแล้ววันหนึ่งมันจะระเบิดออกมาได้ ความอดทนจะต้องประกอบด้วยเมตตา และปัญญา อดทน คือ ยู่กับมันได้
ลักษณะของความอดทน ท่านสอนเรื่องการอดทนไว้ว่า ให้เป็นผู้อดทนต่อเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, อดทนต่อ อากาศร้อน อากาศหนาวอดทนต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายกาจ และอดทนต่อคำด่า คำว่า ท่านเปรียบไว้กับดัง ช้างอาชาไนย ชั้นเจนสงคราม มีงา งอนงาม ที่มีความอดทน แม้จะถูกแทงด้วยหอก ด้วยหลาว ถูกยิงด้วยลูกศร หรือมีเสียงดัง เค้าจะนิ่งอยู่ได้
เครื่องมือที่เราจะอยู่กับความอดทน คือ ให้รู้จักบรรเทาทุกขเวทนา เช่น ถ้าร้อนมาก ก็หามาอะไรมาบังหรืออยู่ในร่ม ให้เป็นผู้มีพรหมวิหาร 4 คือ ให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปให้บุคคลเหล่านั้น เราไม่ควรเอาความสุขไปฝากไว้กับคนอื่น กับคำพูดของคนอื่น อย่าเอาค่าของเราไปฝากไว้กับคนอื่น / ให้เราเป็นผู้มีคุณความดีในตัวเอง ในที่นี้ คือ มีศีล 5 ครบถ้วน จะเป็นความดี ความภูมิใจ ให้เราสบายใจ เมื่อเราอยู่กับความดีที่เรามี เราก็จะไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่คิดร้ายใคร
Q: อย่าสร้างเงื่อนไขที่ไม่ถูก แต่ให้เข้าใจหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล
A: เราอย่าไปสร้างเงื่อนไขของความสุข ความสำเร็จ ยิ่งเงื่อนไขความสุขความสำเร็จที่มาจากคนอื่น เช่นนี้ยิ่งไม่ถูก แต่เราควรเข้าใจให้ถูกว่าวันนี้คุณทำความดีหรือยัง วันนี้ความดีเพิ่มมากกว่าเมื่อวานหรือไม่ ถ้าความดีเพิ่มว่าเมื่อวาน แสดงว่าเราทำสำเร็จแล้ว ให้เราเข้าใจในเงื่อนไข หลักการว่า อะไรเป็นเหตุ เป็นผลของความดี ความชั่ว นี่ก็คือ “สัมมาทิฐิ” การมีเมตตาอย่างไม่มีประมาณ ไม่ว่าเขาจะดีหรือชั่ว เราให้แบบไม่มีเงื่อนไข หากเรายังไปตามคำด่า คำว่า กิเลสมารจะได้ช่อง เราต้องมี พรหมวิหาร 4 เราจะอยู่ได้อย่างสบายใจ
Q: ปัญญาที่จะทำให้อดทนอยู่ได้ | เรื่องของท้าวสักกะ และท้าวเวปจิตติ
A: ผู้ที่เป็นบัณฑิต มีความอดทนเป็นกำลัง มีปัญญา ไม่ควรยุ่ง ไม่ควรตอบโต้ กับคนพาล ท้าวสักกะ ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครที่จะทำอันตราย บุคคลอันมีธรรมะคุ้มครองได้เลย”
Q: เปรียบเทียบคนที่ทำบุญให้ทานด้วยวัตถุสิ่งของจำนวนมากกับคนที่ทำจิตใจให้เป็นบุญเป็นกุศล ผู้ใดได้ผลบุญมากกว่ากัน?
A : บุญ 3 ระดับ คือ 1. บุญจากการให้ทานที่ใช้สิ่งของในการทำ จะได้บุญมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยมากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ให้ และคุณสมบัติของผู้รับ, ศรัทธาของผู้ให้ 3 จังหวะ คือ ก่อนให้ (มีจิตน้อมไป) ระหว่างให้ (เกิดความเลื่อมใส) และหลังให้ (เกิดความปลื้มใจ) 3 อย่างนี้จะทำให้ ผู้ให้เกิดบุญมาก คุณสมบัติของผู้รับ ถ้าผู้รับ มี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง หรือหมดแล้วจะทำให้เกิดบุญมาก / 2. บุญที่เกิดจากการใช้ตัวเราทำ คือ การรักษาศีล / 3. บุญที่เกิดจากการใช้จิตเราทำ คือ ภาวนา ยิ่งได้บุญสูงขึ้นไปอีก
Timeline
[03:53] ควรวางจิตอย่างไร เมื่อต้องอยู่กับบริวารที่มีแต่การใส่ร้าย?
[28:11] อย่าสร้างเงื่อนไขที่ไม่ถูก แต่ให้เข้าใจหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล
[32:20] ปัญญาที่จะทำให้อดทนอยู่ได้ | เรื่องของท้าวสักกะ และท้าวเวปจิตติ
[43:52] เปรียบเทียบคนที่ทำบุญให้ทานด้วยวัตถุสิ่งของจำนวนมากกับคนที่ทำจิตใจให้เป็นบุญเป็นกุศล ผู้ใดได้ผลบุญมากกว่ากัน?