“สรรพสัตว์ล้วนรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น” จึงแสวงหาแต่ความสุขและไม่อยากได้ทุกข์ แท้ที่จริงแล้วสุขนั้นก็ไม่มี เป็นเพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับลงแค่นั้นเอง เวทนาทั้งหลายจึงรวมลงที่ทุกข์ คือ ความเป็นไตรลักษณ์

การมาพิจารณาคิดใคร่ครวญอาการของปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการ แต่ละคู่จนต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นสาย จะทำให้เรามีความเข้าใจและเห็นถึงความเป็นเหตุ–เป็นผลของธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วจึงเกิดขึ้น จะทำให้เราเกิดปัญญาเป็นวิชชา (ญาณ-ความรู้) ดับอวิชชาได้ (ความไม่รู้ในอริยสัจ 4)

ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ:- ได้กล่าวถึง 6 อาการแต่ละคู่ไปกันแล้ว คือ ชรามรณะ-ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา และจะขอกล่าวถึงอาการที่เหลือ ได้แก่

“เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา และเพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ”

ผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ ทางกายและใจ

“เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ และเพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ”

สฬายตนะ คือ อายตนะภายนอก และอายตนะภายใน

“เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ และเพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ”

นามรูป คือ กายและใจ

“เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ”

วิญญาณ คือ การเข้าไปรับรู้การกระทบกันของสฬายตนะ

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท-แต่ละอาการ (ตอนที่ 2)”


Timeline

[00:59] ปฏิบัติภาวนา เจริญเมตตาภาวนา
[08:21] ธรรมะที่อาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้น
[13:29] อธิบาย คู่เวทนากับผัสสะ
[31:44] อธิบาย คู่ผัสสะกับสฬายตนะ
[42:17] อธิบาย คู่สฬายตะกับนามรูป
[51:03] อธิบาย คู่นามรูปกับวิญญาณ