เจริญอานาปานสติปัฏฐาน เพื่อฝึกตนให้เป็นบุคคลอาชาไนย,

เอาจิตเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ การเพ่งมีสองแบบ คือ เพ่งแบบกระจอก และเพ่งอย่างอาชาไนย,

เพ่งแบบกระจอก คือ เพ่งไปในเรื่องที่จะให้เกิดนิวรณ์ ในเรื่องของความเศร้าหมองแห่งปัญญา จิตที่เพ่งกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น จะเพลินไปตามอารมณ์ จะสะดุ้งสะเทือนตลอดเวลา นั่นคือ บุคคลไม่อาชาไนย,

หากแต่บุคคลอาชาไนย คือ ผู้ที่ใช้จิตจดจ่อ เพ่ง (ควบคุม) อยู่ที่ลมหายใจ เพื่อให้เกิดสติ เพื่อให้เกิดสมาธิ ไม่เพ่งไปตามนิวรณ์ ไม่เพลินไปตามผัสสะ จิตก็จะไม่สะดุ้งสะเทือน และพร้อมที่จะฝึกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป,

เมื่อจิตมีสติ เป็นสมาธิแล้ว เราใช้สมาธิเป็นเครื่องมือให้เกิดปัญญา ด้วยการ “น้อมจิต” ไป พิจารณากายเรา เป็นเพียงธาตุสี่ “ดิน น้ำ ไฟ ลม” เป็นธาตุสี่ที่เหมือนกับ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่อยู่ภายนอกเรานั่นเอง, จะเห็นว่ากายเราเป็นเพียงของที่ยืมเขามา, ไม่เที่ยง เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย, เมื่อเปลี่ยนแปลง จึงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้, เมื่อเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย นั่นคือ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา,

เข้าใจอย่างนี้ จึงเรียกว่าเข้าใจถูก แบบบุคคลอาชาไนย, 

การเพ่งแบบนี้จะได้รับการนอบน้อมสูงสุด จะได้รับการบูชาสูงสุด เพราะเป็นบัณฑิตขั้นสูงสุด สูงสุดแบบพระอรหันต์.


Timeline

[00:02] อานาปานสติเพื่อความเป็นอาชาไนย
[09:18] ความเพ่งที่แตกต่าง ม้ากระจอก: ม้าอาชาไนย
[23:24] คนกระจอกเพ่งไปในกามกิเลส มีนิวรณ์ เศร้าหมองแห่งปัญญา
[25:38] คนอาชาไนยเพ่งพยายามทำความเข้าใจ ตั้งสติ ไม่เพลิน พ้นนิวรณ์ มีสมาธิ เกิดปัญญา