จุดเริ่มของการสังคายนาพระไตรปิฎก :

“สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือ การจัดระเบียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำ (ใช้ระบบท่องจำ)

“สังคายนา” หมายถึง สวดพร้อมกัน มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว โดยท่านพระสารีบุตรมีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบตามหลักฐานที่ปรากฏในปาสาทิกสูตร และสังคีติสูตร

ความแตกต่างของเถรวาท และ อาจริยวาท : 

เถรวาท คือ คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก

อาจริยวาท คือ ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน (นิกายมหายาน)

…………

#53_อัปปมาทสูตร พราหมณ์คนหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง (ในภพนี้ และ ภพหน้า) มีอยู่หรือไม่? โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบธรรมข้อนั้นคือ “ความไม่ประมาท” และได้ยกอุปมา-อุปไมยใน 6 อย่าง

#54_ ธัมมิกสูตร ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาสชอบด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา ซึ่งเป็นเหตุให้พวกอุบาสกและอุบาสิกาขอท่านพระธัมมิกะหลีกไปจากอาวาสถึง 7 แห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค

อ่าน “อัปปมาทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ฟัง “ผู้ฉลาดในภาษา รู้เขา และรู้เรา”


Timeline

[05:01] ประวัติการสังคยานา
[12:59] กำเนิดเถรวาท และ อาจริยวาท
[25:50] ธรรมยุต และ มหานิกาย
[36:57] อัปปมาทสูตร ว่าด้วยความไม่ประมาท
[49:53] ธัมมิกสูตร ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะ