Q: สัปปุริสธรรม

A: คือ ธรรมะของคนดี แยกตามนัยยะ คือ นัยยะที่กล่าวถึงการพูดดี คิดดี ทำดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ นัยยะเรื่องวาจาที่พูดถึงคนอื่น คนดี จะพูดถึงความดีของคนอื่นโดยไม่ต้องถาม ยอมรับความไม่ดีของตนได้ ส่วนคนไม่ดี คือ เรื่องไม่ดีของตนไม่ยอมรับ จะชอบพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นแม้จะไม่มีใครถามก็พูด นัยยะของ สัปปุริสธรรม ตาม “ธัมมัญญูสูตร” นัยยะของสัปปุริสธรรม 7 และนัยยะของสัปปุริสธรรม 8

Q: ธัมมัญญุตา

A: คือ เป็นผู้รู้เหตุแห่งหลักธรรม รู้ว่าสร้างเหตุนี้จะต้องได้ผลนี้ ในการเลือกตั้ง เราต้องเลือกคนดี ไม่ใช่เลือกเพราะอคติ/ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด/โกรธ เพราะกลัวภัย หรือเพราะหลง

Q: อัตถัญญุตา

A: คือ เป็นผู้รู้จักผล รู้ความหมาย รู้เนื้อความแห่งคำสอนนั้นว่าหมายความว่าอย่างไร

Q: อัตตัญญุตา

A: คือ รู้จักตน ว่ามีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ หรือไม่ พร่องตรงไหน / ศรัทธา คือ มีความมั่นใจในระบบ, ศีล การรับสินบนถือว่าผิดศีล สุตตะ คือ การฟังที่จะทำให้เกิดความรู้ คลายอคติ จาคะ คือ การให้ การสละออก ทำประโยชน์ให้สังคม ปัญญา คือ ความรู้ที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ ปฏิภาณ คือ ความสามารถ ที่จะแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้

Q: มัตตัญญุตา

A: คือ รู้จักประมาณ รู้ความพอดี พระภิกษุ ท่านต้องพิจารณาแล้วจึงบริโภค ทั้ง อาหาร จีวร เสนาสนะและยารักษาโรค ในการที่จะเลือกตั้งนี้ เราก็ควรพิจารณาเสนาสนะ คือ พิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วจึงทำ จึงลงคะแนน

Q: กาลัญญุตา

A: คือ รู้จักกาล คือ รู้จักเวลาว่าเวลาไหนควรทำอะไร

Q: ปริสัญญุตา

A: คือ รู้จักบริษัท บุคคล กลุ่มคน ชุมชน ว่ากลุ่มไหน มีระเบียบการเข้าไปหาอย่างไร พอใจสิ่งไหน ชอบสิ่งไหนเรื่องใด ต้องเหมาะสมกับบุคคลแต่ละแบบ / ในการเลือกตั้ง เราต้องรู้ว่าคนนี้เป็นอย่างไร พรรคนี้เป็นอย่างไร มีประวัติผลงานเป็นอย่างไร

Q: ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา

A: รู้จักบุคคล ท่านเปรียบเทียบอยู่สองส่วน ต้องรู้ลึกไปถึง วิธีการทำ คิด ปฏิบัติ ของเขา ไม่ใช่แค่ผิวเผิน

Q: สัปปุริสธรรม 7

A: คือ มี 1. ศรัทธา 2. หิริ 3. โอตัปปะ 4. เป็นพหูสูตร 5. เป็นผู้ที่ทำความเพียรในการละอกุศล 7 ทำสิ่งที่เป็นกุศล 6. มีสติ 7. มีปัญญา/ สัปปุริสธรรม 7 ตรงกับพละ7 คือ คนที่เป็นคนดีก็จะมีกำลัง 7 อย่างนี้

Q: สัปปุริสธรรม 8

A: คือ 1. มีสัปปุริสธรรม 7 2. มีความภักดีต่อสัตบุรุษ 3. มีความคิดอย่างสัตบุรุษ 4. มีความรู้ (ปัญญา) อย่างสัตบุรุษ 5. มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ 6. มีการงานอย่างสัตบุรุษ 7. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ 8. มีการให้ทานแบบสัตบุรุษ 


Timeline
[14:05] สัปปุริสธรรม
[16:14] ธัมมัญญุตา
[24:32] อัตถัญญุตา
[29:14] อัตตัญญุตา
[32:03] มัตตัญญุตา
[35:54] กาลัญญุตา
[39:41] ปริสัญญุตา
[43:45] ปุคคลัญญุตา หรือปุคคลปโรปรัญญุตา 
[45:50] สัปปุริสธรรม 7
[47:22] สัปปุริสธรรม 8