Q: ความแตกต่าง ระหว่างความร่าเริงอาจหาญในธรรมกับทิฐิมานะขั้นละเอียด?

A: การที่จะมีความร่าเริงอาจหาญในธรรมนั้น ต้องมีเหตุ มีปัจจัย จะมีความกล้า ที่มาจากคำว่า วิริยะ จะไม่สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จะเป็นคนที่มีปัญญา มีการใคร่ครวญ โยนิโสมนสิการ เห็นถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ตามอริยสัจสี่ แล้วปล่อยวางได้ หากอยู่ๆ ก็กล้าขึ้นมาเลย นั่นจะเป็นลักษณะของกล้าบ้าบิ่น เป็น “ทิฐิมานะ” คืออาศัยอวิชชา เป็นความบ้าบิ่น ไม่รู้ ไม่เข้าใจสถานการณ์

Q: ทำไมอุรุสกชฎิลที่เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์จึงไม่ปลงใจเชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงปาฏิหาริย์มากมายก็ตาม แต่กลับสลดใจเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสกลับว่า “ท่านไม่ได้เป็นอรหันต์ แม้ทางที่จะไปถึงอรหันต์ท่านก็ไม่มี”?

A: เพราะคิดว่าอิทธิปาฏิหาริย์ไม่มีจริง เป็นเพียงกลลวงเท่านั้น และเพราะทิฐิมานะ ที่คิดว่าตนเองเป็นอรหันต์จริงๆ จึงทำให้เมื่อได้ยินท่านกล่าวเช่นนั้น จึงเกิดความสลดใจ ทิฐิมานะก็ต้องแก้ด้วยทิฐิมานะว่าทิฐิมานะที่มีนั้นไม่ถูก จึงจะเจริญขึ้นได้

Q: อธิบายขยายความใน “อาทิตตปริยายสูตร” ถึงการเปรียบเทียบ   สุขเวทนาว่าเป็น “โลภะ” ทุกขเวทนาว่าเป็น “โกธะ” และอทุกขมสุขเวทนาเป็น “ความหลง”?

A: ราคะ โทสะ โมหะ เกิดจากผัสสะ ท่านเปรียบไว้ดังของร้อน เมื่อมีผัสสะจึงมีเวทนา ทั้งเวทนาที่เป็น สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข เวทนาที่เป็น “สุข” ก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเพลิน ความหลงได้ เวทนาที่เป็น“ทุกข์” ก็จะเป็นพื้นฐานของความขยะแขยงเกลียดชัง ไม่พอใจได้ เวทนาที่เป็น “อทุกขมสุข” ก็จะเป็นที่ตั้งแห่งความหลงได้ ในทางตรงข้ามกัน เวทนาที่เป็นสุข ก็ทำให้เกิดความหลง เกิดความโกรธ ได้เหมือนกัน คือหากเราสูญเสียความสุขไป ก็เกิดความโกรธได้ ก็จะเป็นสุขเวทนาที่อาศัยความไม่พอใจได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดได้จากทั้ง สุข ทุกข์ และอทุกข์ขมสุข ขึ้นอยู่กับเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยหากเราปฏิบัติตามมรรค 8 เราก็จะปล่อยวางความยึดถือในสิ่งเหล่าได้

Q: อธิบายขยายความคำว่า “อัตตะมะนา”

A: นัยยะหนึ่ง แปลว่า ยินดีพอใจในภาษิตของพระพุทธเจ้า อีกนัยยะหนึ่ง แปลว่า มีใจเป็นของตน คือ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่สะดุ้งไปตามอำนาจของกิเลส คือตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป

Q: วิธีที่จะทำให้เราอยู่เป็นปกติสุขได้ในยุคปัจจุบัน?

A: ฝึกเจริญ พรหมวิหาร4 ทำจิตให้สงบ เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยปัญญาแล้วจะไปนิพพานได้


Timeline
[04:18] ความแตกต่าง ระหว่างความอาจหาญในธรรมกับทิฐิมานะขั้นละเอียด?
[15:51] ทำไม อุรุสกชฎิล ที่เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์ จึงไม่ปลงใจเชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงปาฏิหาริย์มากมายก็ตาม แต่กลับสลดใจเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสกลับว่า “ท่านไม่ได้เป็นอรหันต์ แม้ทางที่จะไปถึงอรหันต์ท่านก็ไม่มี”?
[28:46] อธิบายขยายความใน อาทิตตปริยายสูตรถึงการเปรียบเทียบ สุขเวทนาว่าเป็น “โลภะ” ทุกขเวทนาว่าเป็น “โกธะ” และอทุกขมสุขเวทนาเป็น “ความหลง”?
[38:45] อธิบายขยายความคำว่า “อัตตะมะนา”
[46:22] วิธีที่จะทำให้เราอยู่เป็นปกติสุขได้ในยุคปัจจุบัน