ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล

ปี พ.ศ. 2436 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดให้เปลี่ยนจากการบันทึก ปาฬิภาสา-อักษรขอมที่จารด้วยมือบนใบลาน เป็นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยของยุคนั้น ตีพิมพ์ชุดหนังสือพระไตรปิฏกปาฬิ-อักขะระสยามชุดแรกของโลก (ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม) และในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล (อักษรโรมัน) ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436

#46_มหาจุนทสูตร ได้กล่าวถึงภิกษุ 2 ประเภท คือ ฝ่ายสมถะ หรือ ฝ่ายวิปัสสนา ไม่ควรว่ากล่าวรุกรานกัน แต่ควรจะกล่าวสรรเสริญกัน

#47_ปฐมสันทิฏฐิกสูตร โมฬิยสีวกปริพาชกได้ถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเองมีด้วยเหตุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคได้ตอบคำถามแบบถามกลับว่า “เห็นธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปหรือไม่”

#48_ทุติยสันทิฏฐิกสูตร มีนัยยะเหมือนกันกับข้อ 47 และเพิ่มเหตุแห่งการประทุษร้ายทางกาย วาจา ใจ เข้ามา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค

อ่าน “มหาจุนทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[02:48] พระไตรปิฎกสากล
[10:53] ทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
[23:19] มหาจุนทสูตร
[35:45] ปฐมสันทิฏฐิกสูตร
[49:21] ทุติยสันทิฏฐิกสูตร