Q: เมื่อสุขแล้ว สำเร็จแล้ว อย่าประมาท

A: ทุกข์ สุข กุศล อกุศล ผัสสะที่เข้ามากระทบ จะทำให้เกิดกุศลหรืออกุศลนั้น ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าเมื่อมีผัสสะเข้ามากระทบแล้วเราจะทำอย่างไร หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนาเข้ามากระทบ แล้วเราขยะแขยง เกลียดชัง ก็จะกลายเป็น อกุศล แต่ใจขณะเดียวกัน หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนา เข้ามากระทบแล้ว เราอดทน เรามีเมตตาได้ นั่น จะเกิดเป็นกุศล คนมักจะเชื่อมทุกขเวทนาว่าเป็นทุกข์, สุขเวทนาว่าเป็นสุข แต่แท้จริงแล้ว ทั้งทุกข์และสุขนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดได้ทั้งกุศลและอกุศลได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าหากเรามีสุขเวทนาแล้ว เราจะกำหนัด ยินดี พอใจ เพลินไปกับสุขเวทนานั้นหรือไม่ เพราะหากเราเพลิน กำหนัด ยินดี พอใจ นั้นคือ “อุปาทาน” เป็น อกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเราได้ดีในชีวิตอยู่แล้ว ให้รักษาให้ดี ไม่ใช่หวงกั้น ถ้ารักษาไม่ดี กลายเป็นความหวงกั้น นั่นก็จะกลายเป็น “อกุศล” ซึ่งจะทำให้สิ่งดีๆ ที่เรามี กลายเป็นไม่ดีไป กลายเป็นทุกข์ไป ให้รักษากุศลไว้ อย่าประมาท 

Q: สุขอย่างไรไม่ประมาท

A: ประมาท คือ พอมีความสุข แล้วยินดี พอใจ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน แบบนี้ เป็นอกุศลกรรม ไม่ประมาท คือ เห็นความสุขเป็นของไม่เที่ยง ไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน มัวเมา แบบนี้ เป็นกุศล 

Q: ตั้งมั่นในความดีด้วยมรรค

A: เมื่อมีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เราอย่าเพลินไปในมัน ความคิดที่เข้ามา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นสิ่งที่เกิดจาก เงื่อนไข ปัจจัย อย่าเพลินไปในความคิด เพราะจิตเราเป็นประภัสสรอยู่แล้ว หากเราเพลิน เราพอใจ ไปตามความชอบหรือไม่ชอบ มันจะเป็นอกุศลได้ ท่านได้สอนไว้ ถึงสติปัฏฐานสี่ ให้เรามีสติ อย่าประมาท ให้ระมัดระวังอยู่เสมอ อย่าคิดว่าเล็กน้อยแล้วจะไม่ส่งผล ให้เราเดินไปตามทางมรรค 8 เพราะหากออกนอกมรรคนั่นคือ เราประมาท


Timeline

[01:45] เมื่อสุขแล้ว สำเร็จแล้ว อย่าประมาท
[27:59] สุขอย่างไรไม่ประมาท
[43:02] ตั้งมั่นในความดีด้วยมรรค