Q: ห่วงความรู้สึกของคนอื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ควรจะทำอย่างไร?

A: ความรู้สึกเช่นนี้ คือ ต้องการให้สิ่งภายนอก คือคนในสังคมยอมรับเรา แต่จริงๆ แล้วต้องการหลุดพ้นจากสภาพเช่นนี้ กิเลส มันสุดโต่ง 2 ด้าน ทั้ง ด้านที่เป็นลักษณะของ “ภวตัณหา” คือ อยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ และ “วิภวตัณหา” คือ ความอยากที่จะไม่มีไม่เป็น ทางแก้ คือ ให้เรารักษาตนเองและรักษาผู้อื่น โดย รักษาตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมให้มากและรักษาผู้อื่นด้วยการ อดทน ไม่เบียดเบียน เมตตา และรักใคร่เอ็นดู ให้เราตั้งสติขึ้น เจริญสติปัฏฐาน 4 ระลึกถึงลมหายใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว เราก็จะเห็นไปตามจริง ว่าสิ่งไหนเที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง เราก็จะละ จะกำจัดอาสวะได้ ซึ่งการที่เราจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นั้น เราต้องเห็นโทษ เห็นความไม่เที่ยงของมัน เห็นว่า ความคิดทั้งดี และไม่ดีนั้น ไม่ใช่ของเรา แต่หากความคิดไหนเป็นประโยชน์ให้เอาไว้ ความคิดอันไหนไม่เป็นประโยชน์ให้เราละ ให้เอาทางที่เป็นมรรค 8 ไว้ ทางที่ไม่ใช่มรรค 8 ไม่เอา

Q: ขณะบิณฑบาต ฝาบาตรตก จะอาบัติหรือไม่ แก้ไขอย่างไร?

A: ไม่อาบัติ อาจจะผูกฝาไว้

Q: ควรจะพูดอย่างไรให้คนต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ได้เข้าใจถึงทางออกที่แท้จริงของการทำแท้ง?

A: เริ่มจากสิ่งที่สามารถลงกันได้เสียก่อน เช่นว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล เป็นลักษณะของกาม พยาบาท เบียดเบียนหรือไม่ ให้เกรงกลัว ละอายต่อบาปอกุศล จากนั้น ค่อยพูดคุย เรื่องของข้อตกลงร่วมกัน หรือข้อกฎหมายในแต่ละชนชาติ ว่าลงรับกันได้มากน้อยอย่างไร และควรหลีกเลี่ยงการพูดคุย ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละชนชาตินั้น


Timeline
[01:17] ห่วงความรู้สึกของคนอื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ควรจะทำอย่างไร?
[36:06] ขณะบิณฑบาต ฝาบาตรตก จะอาบัติหรือไม่ แก้ไขอย่างไร?
[39:01] ควรพูดอย่างไร ให้คนต่างศาสนา ต่างความเชื่อ เข้าใจถึงทางออกที่แท้จริงของการทำแท้ง?