“โสวจสฺสตา” ความเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย บอกง่าย ฟังเหตุผลกัน เหล่านี้เป็นประตูด่านแรกที่มีความสำคัญ ที่จะให้คำสอนอื่นๆ ธรรมะดีๆ เบื้องต้นเข้ามาได้หรือได้ หรือถ้านำมาใช้งานในระดับธรรมพขั้นที่สูงขึ้นไป เช่น ในลักษณะของมงคลที่อยู่ในลำดับท้ายๆ จะเป็นการปรับสภาพเตรียมใจให้พร้อมนำเอาธรรมะเบื้องสูงเข้าสู่จิตใจของเรา

ซึ่งถ้าหัวดื้อแล้วอะไรที่มันจะสอนสั่งอธิบาย มันทำได้ยากไปหมดเลย แต่ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้ เพราะมันจะมีสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่เขาจะบอกได้สอนได้ มันเปลี่ยนแปลงกันได้ คือจะมีบางครั้งที่บอกได้ง่าย ถ้าบอกง่ายแล้ว สิ่งดีๆ ความฉลาด มันก็จะเข้าไปภายในได้ ให้เป็นผู้ที่อดทนทำ รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น มงคลความเป็นผู้ว่าง่ายนี้จึงต่อจากคุณธรรมที่ชื่อว่า “ขันติ” คือ ความอดทนทำตามคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่บางทีมันก็ทำได้ยาก

ลักษณะของคนที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ว่าง่าย ดูจากภายนอกที่พอจะเห็นได้ คือ 1) รับคําสอนด้วยดี 2) รับทําตามด้วยดี 3) รู้คุณของผู้ให้โอวาท) ซึ่งบอกง่ายหรือสอนง่ายมันก็ต้องมีการพูดคุย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการใช้เหตุผลในสิ่งที่บอกหรือสอนนั้น และในการที่จะให้เขามาติเตียน บอกกล่าวบอกสอน ก็ต้องมีเงื่อนไข ซึ่งในธรรมวินัยนี้เราเรียกว่า “การปวารณา” คือ ออกตัวให้บอกสอนได้

ส่วนวิธีการทําให้เป็นคนว่าง่ายนั้นก็คือ การเห็นโทษของความว่ายากและเหตุที่ทําให้ว่ายาก 16 อย่าง และการกระทำในมงคลข้อต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาทั้ง 27 ข้อ จะทำให้เราเป็นคนว่าง่ายแน่นอน และซึ่งยิ่งถ้าเราเพิ่มสัดส่วนการว่าง่ายในจิตใจของเรา มันก็เป็นการเปิดประตูให้ความฉลาดคือปัญญา ให้คุณธรรมความดีอื่นๆ ต่างๆ เข้ามาได้

ฟัง “มงคลชีวิต 28 #ความอดทน”


Timeline
[00:16] ปฏิบัติภาวนาเจริญพรหมวิหาร 4
[14:36] ความหมายของโสวะจัสสะตา (เป็นคนว่าง่าย)
[20:02] ลักษณะของคนว่าง่าย
[25:45] ประเภทของคนว่าง่าย
[44:02] สาเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย และว่ายาก
[53:30] วิธีการให้เป็นคนว่าง่าย